ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดซาวหลวง
- ชื่อวัด: วัดซาวหลวง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- สามเณร: 4 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 111 หมู่ 5 ซาวหลวง ตำบลสวก อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55000
- เนื้อที่: 7 ไร่
ประวัติความเป็นมา
วัดซาวหลวง ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้เรียกชื่อวัดตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บรรพบุรุษได้นับถือกันมา ชื่อว่า เจ้าหลวงอาชญา-นางนาซาว และตั้งชื่อเรียกตามลำน้ำห้วยซาวหลวง จนถึงปัจจุบัน ทิศเหนือของวัดติดกับทุ่งนา ความกว้าง 27 ตารางวา ทิศตะวันออกติดกับทุ่งนา ความกว้าง 68 ตารางวา ทิศใต้ติดกับทุ่งนา ความกว้าง 23 ตารางวา ทิศตะวันตกติดกับทุ่งนา ความกว้าง 65 ตารางวา
วัดซาวหลวง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 ไม่ปรากฏวันเวลาที่สร้าง โดยครูบาเจ้าสุวรรณ ชินวํโส พร้อมด้วยคณะศรัทธา ต่อมาครูบาเจ้าอินต๊ะ ปัญญาโร ได้สร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2453 จากนั้นมาครูบาเจ้าอาทะวัง ธีรวํโส ได้สร้างพระอุโบสถ ผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2472 ต่อมา ครูบาเจ้าพระอธิการทนันไชย ติสโร ได้รื้อพระวิหารหลังเก่าที่สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2453 แล้วสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2493 สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2497 รวมถึงกำแพงวัด และได้ถวายทานพร้อมกัน เมื่อปี พ.ศ. 2507 ต่อจากนั้นมา พระครูสิรินันทศิลป์ (พระมหาชาญชัย) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้รื้อกุฏิหลังเก่าที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2453 และได้สร้างกุฏิใหม่ขึ้นหนึ่งหลัง เมื่อปี พ.ศ.2538 ได้ดำเนินการสร้างสำเร็จ และได้ถวายทานเมื่อ วันจันทร์ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เป็นพุทธสถานทางศาสนาสืบต่อกันมา จนถึงปัจจุบันนี้
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2370
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2472
ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2558
พระอธิการเจริญ อติยโส เจ้าอาวาสวัดซาวหลวง
พระอธิการเจริญ อติยโส
ปัจจุบันอายุ 65 ปี
บวชมาแล้ว 6 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดซาวหลวง
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการเจริญ อติยโส
พระอธิการเจริญ อติยโส เจ้าอาวาสวัดซาวหลวง
จบการศึกษาศึกษาระดับป. บส. จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
อดีตเจ้าอาวาสวัดซาวหลวง
พระครูบาเจ้าสุวรรณ ชินวํโส |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูบาเจ้าอินต๊ะปัญญา ปัญญาธโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอธวัง ธีรวํโส |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการทนันชัย ติสโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 ถึงปี พ.ศ.2532 |
พระครูสิริ นันทศิลป์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ถึงปี พ.ศ.2549 |
พระชัยศักดิ์ ชยวํโส (ร.ก) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึงปี พ.ศ.2552 |
พระณัฐพล ปญฺญาธโร (ร.ก) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ถึงปี พ.ศ.2554 |
พระอธิการเจริญ อติยโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ถึงปี พ.ศ.2558 |
ดนตรีพื้นบ้าน (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
พ่อครูอรุณศิลป์-แม่ศรีทร ดวงมูล ที่อยู่ 104 หมู่ 5 บ้านซาวหลวง ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นศิลปินแห่งประเทศไทย ด้านซอพื้นเมือง ซึ่งเป็นวัฒนธรรมชาวล้านนา ภาคเหนือ สืบสานวัฒนธรรมด้านการประดิษฐ์ และซอพืนบ้าน
ผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
นาย ถวิล สายจันทร์ (อาจารย์ถวิล) ที่อยู่ 117 หมู่ 5 บ้านซาวหลวง ตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เป็นผู้ทรงศีลที่สืบทอดศาสนพิธีทางพุทธศาสนา ทั้งด้านไสยศาสตร์ และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
ชาติพันธุ์ (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
เผ่าคนพื้นเมือง ชาวบ้านถือศีล 8 ในวันพระตลอดเข้าพรรษา และถือศีล 5 โดยทั่วไป
พื้นเมือง (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
ภาษาพื้นเมือง ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ภาษาพื้นเมือง
ประเพณีประจำปี (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
ประเพณี พิธีทอดกฐิน ผ้าป่า งานสงกรานต์ สรงน้ำพระ งานถวายข้าวประจำปี ถวายเทียนพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน แสดงปฐมเทศนาธรรมและงานวันเพ็ญเดือน 12 (ยี่เป็ง) งานเทศธรรมมหาชาติและถวายข้าวเปลือกข้าวสารทุกปี
ดนตรีพื้นเมือง (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
มีการเล่นดนตรี สะล้อ ซอ ซึง ในงานพิธีต่างๆ มีผู้สอนชื่อ นายอรุณศิลป์ ดวงมูล เป็นผู้ช่วยสอนนักเรียนโรงเรียนบ้านซาวหลวง
กลุ่มงานจักสาน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
มีกลุ่มจักสานและทอผ้าพื้นเมืองบ้านซาวหลวง หมู่ 5 และหมู่ 13 บ้านป่าฝางสามัคคี จักสานตะกร้า กระติ๊บข้าว และไม้กวาด การทอผ้าพื้นเมืองลายน้ำไหลเป็นผ้าซิ่น ผ้าขาวม้าและผ้าสไบ
การฟ้อนรำ (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดซาวหลวง
มีการฟ้อนรำ ฟ้อนแง้น ฟ้อนล่องน่าน การซอ ในงานพิธีต่างๆ
การจัดการศึกษาภายในวัดซาวหลวง
การจัดการศึกษาภายในวัดซาวหลวงนั้น จะประกอบไปด้วย
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด