ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
- ชื่อวัด: วัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 1 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 60 หมู่ 1 บ้านพรหม ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55170
- เนื้อที่: 8 ไร่ 50 ตารางวา
- โทร: 081-3869163
ประวัติความเป็นมา
พระธาตุยอยหงส์ ตั้งอยู่ที่ บ้านพรหม หมู่ 1 ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ประวัติความเป็นมา ตำนานวัดพระธาตุยอยหงส์ ตั้งอยู่บนยอดเขานันทบุรีน้อย อยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของวัดบ้านพรหม ตำบล หนองแดง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน มีบันไดนาคสำหรับเดินขึ้นด้านหน้ามองตรงขึ้นไปจะเห็นพระธาตุชัดเจน และมีเส้นทางสำหรับรถขึ้นไปถึงตัววัดด้านบน วัดพระธาตุยอยหงส์ มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านานสถาปัตยกรรมล้านนา เป็น ปูชนียสถานที่สำคัญ และศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่สักการบูชา ของชาวอำเภอแม่จริม และประชาชนทั่วไป หงษ์ตัวใหญ่ที่ตั้งกับพื้นเป็นตัวใหม่ หงษ์ตัวเก่ายืนอยู่บนเสาร์ด้านบนชำรุดทรุดโทรมไปมาก
ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธาตุองค์นี้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช 1714 หรือจุลศักราช 633 ความเป็นมาก่อนสร้างองค์พระธาตุคือ มีหงส์ตัวหนึ่งได้ คาบเอายอยทองคำ (ตราชูทองคำ เครื่องชั่งสมัยโบราณ ) บินมาวนเวียนอยู่ยอดเขานี้ถึง 3 รอบ แล้วเอายอย ทองคำนั้นปล่อยลงมาตรงยอดเขานี้ ส่วนหงส์ตัวนั้นก็บินบ่ายโฉบหน้าไปทางทิศตะวันตก และมีฟ้าร้องฟ้าผ่า ฝนตกหนัก เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เมื่อฝนฟ้าสงบลง แล้วมีช้างป่าโขลงหนึ่งประมาณ 100 เชือก มาเดินวนเหยียบ ดินบริเวณยอดเขาแห่งนี้ จนเรียบเตียน แล้วเดินไปประทักษิณรอบบริเวณยอดเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าลานช้าง อยู่จนบัดนี้
เมื่อช้างโขลงนั้นกลับไปแล้วนั้น พระครูบาคล่อม ( พระภิกษุคล่อม ) ซึ่งเป็นพระเถระผู้เคร่งครัดธรรมวินัย และเป็นพระที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก
ที่สุดในสมัยนั้น ได้ชักชวนให้ชาวบ้านที่เป็นคนแก่เฒ่า และชาวบ้านที่มีศีล มีสัตย์ ให้สมาทาน รักษาอุโบสถศีล และสัตยาธิฐานแล้วก็ขึ้นมาดูบริเวณยอดเขาแห่ง
นั้น จึงได้พบว่า มียอยทองคำวางอยู่บนจอมปลวก แล้วจึงได้พากันคิดก่อสร้างเป็นองค์เจดีย์เล็กๆ ครอบยอยทองคำนั้นไว้ แล้วตั้งชื่อว่า "พระธาตุยอยหงส์"
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมาเมื่อจุลศักราช 683 หรือ พ.ศ. 1764 ได้มีพระครูบา อริยวังโส มาจากวัดกือมา เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า และหมื่นพละ ท้าวภวังค์ พ่อคำตุ่น พร้อมด้วย
ลูกศิษย์ และศรัทธาชาวบ้านในอำเภอแม่จริม หรือบ่อว้าในสมัยนั้น ได้พากันเสริมสร้างขึ้นอีก ให้เป็นองค์พระธาตุขนาดใหญ่ วัดโดยรอบกว้างประมาณ 5 วาเศษ
สูงประมาณ 7 วา จนถึงทุกวันนี้ เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้ฉาบปูนปิดทองคำเปลว ขณะปิดทองคำเปลวนั้นก็ได้เกิดพายุลมแรง ได้พัดเอาทองคำเปลวแผ่นหนึ่ง
ไปตกที่เนินเขาใกล้บ้านน้ำพาง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นมาพบเข้า จึงได้พากันก่อสร้างเจดีย์ครอบทองคำเปลวแผ่นนั้นไว้ และได้ตั้งชื่อว่า "เจดีย์คำเปลว"
มาจนทุกวันนี้
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 1714
ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2558
พระอธิการเกรียงไกร สุเมโธ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
พระอธิการเกรียงไกร สุเมโธ
ปัจจุบันอายุ 40 ปี
บวชมาแล้ว 10 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
ประวัติด้านการศึกษาของพระอธิการเกรียงไกร สุเมโธ
พระอธิการเกรียงไกร สุเมโธ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยนครสงฆ์ จังหวัดน่าน
อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
พระครูมาคล่อม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.1714 ถึงปี พ.ศ.1764 |
พระครูมาอริยะวังโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.1764 ถึงปี พ.ศ.1805 |
พระครูบาหลวงลาว |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2405 ถึงปี พ.ศ.2455 |
พระครูบาอริยะ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2455 ถึงปี พ.ศ.2460 |
พระเจ้าอธิการธนจักร์ โชติโย |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ถึงปี พ.ศ.2499 |
พระอธิการปัญญา สุขวฑฺฒโน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 ถึงปี พ.ศ.2506 |
พระอธิการแสงคำ สญฺญโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 ถึงปี พ.ศ.2530 |
พระปลัดไพบูลย์ ธมฺมิโก |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ถึงปี พ.ศ.2536 |
พระอธิการศรี ปญฺญาธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ถึงปี พ.ศ.2549 |
พระอธิการแสวง จนฺทธมโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึงปี พ.ศ.2553 |
พระนเรนท์ ชิตมาโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 ถึงปี พ.ศ.2556 |
พระอธิการเกรียงไกร สุเมโธ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงปัจจุบัน |
นายเชิด พรมทะนา (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
รำฟ้อน เจิงโบราณ
นายอิ่นแก้ว พรหมสกุลปัญญา (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
ทำสมุนไพร ยารักษาโรค ประกอบพิธีกรรมทางด้านพุทธศาสนา ไสยศาสตร์ หลายยแขนง พิธีพราหมณ์
ชนพื้นเมือง (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
ภาษาล้านนา (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
ตานถวายสลากภัตร (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
การทำบุญตามประเพณี เช่น สู่ขวํยข้าว สู่ขวัญควาย สะเดาะเคราะห์ ตักบาตรเทโว โรหณะ เข้ารุกขมูลพระสงฆ์
กลุ่มดนตรีพื้นเมืองเทศบาลตำบลหนองแดง (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
กลุ่มดนตรีพื้นบ้านมิตรเมืองมาย (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)
การจัดการศึกษาภายในวัดพระธาตุยอยหงส์(ดอยหงส์)นั้น จะประกอบไปด้วย
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล
- ศูนย์วัฒนธรรม