ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดหลวง
- ชื่อวัด: วัดหลวง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 5 รูป
- สามเณร: 7 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 3 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 118 หมู่ 1 บ้านหลวง น่าน-บ้านหลวง ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55190
- เนื้อที่: 3 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา
- ผู้มอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน: กรมการ
- โทร: 098 - 7676589
- เว็บไซต์: http://watluangnan.com/
ประวัติความเป็นมา
วัดหลวง ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
ตามประวัติก่อสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ และปรากฏหลักฐานของวัดอีกทีในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในสมัยนั้นวัดหลวงอยู่ในเขตการปกครองของตำบลสวด อำเภอบ้านม่วง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปง จังหวัดพะเยา) จังหวัดน่าน โดยพระเดชพระคุณ พระครูนันทสมณาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเจ้าคณะแขวง ได้ถวายพระพรบังคมทูลขอเป็นที่วิสุงคามสีมา พระเจ้าแผ่นดินสยามประเทศได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาต จึงโปรดให้กรมการ ปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เป็นที่วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชอาณาเขต เป็นที่เลิศวิเศษสำหรับพระสงฆ์ผู้มาแต่จตุรทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมมีอุโบสถ เป็นต้น พระราชทานตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ รัตนโกสินทรศก ๑๓๘ มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๔๐ ตารางวา ปัจจุบันวัดหลวงมีอายุ ๒๔๘ ปี ต่อไปนี้
1. วัดหลวงก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2310 มีอายุได้ 248 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
2. วัดวังยาวก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีอายุได้ 108 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
3. วัดพี้เหนือก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 มีอายุได้ 148 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
4. วัดฟ้าสรรค์ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2345 มีอายุได้ 213 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
5. วัดพี้ใต้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2450 มีอายุได้ 108 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
6. วัดพระธาตุแช่แห้งก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 1896 มีอายุได้ 662 ปี (ข้อมูลนี้บันทึกเมื่อวัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2558)
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2310
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2464
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดหลวง
12 - 16 เมษายน ของทุกปี ประเพณีสงกรานต์และประเพณีสรงน้ำพระแก้วมรกต
- ขบวนแห่พระแก้วมรกตรอบชุมชนในคุ้มวัดหลวง
- การแสดงทางวัฒนธรรมของชุมชน
มิถุนายน - กรกฎาคม เทศกาลเข้าพรรษา
- สรงน้ำพระแก้วมรกต
ตุลาคม เทศกาลออกพรรษา
- สรงน้ำพระแก้วมรกต
ประเพณีถวายตานก๋วยสลาก
พฤศจิกายน สืบสานประเพณียี่เป็ง ฟังเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก
ความน่าสนใจภายในวัดหลวง
แปลจากภาษาล้านนามีใจความดังต่อไปนี้
จุลศักราช 787 (พ.ศ.1968) ยังมีเจ้างัวผารุมองค์หนึ่ง ได้เป็นลูกพญาพันต้น ก็ได้ครองเมืองน่านมีนามว่าเจ้างัว ผารุม ขณะที่ได้ครองเมืองน่าน ยังมีพรานป่าคนหนึ่งได้ไปพบช้างเผือกเชือกหนึ่งในป่าเมืองยอด อำเภอปง ได้ไปทูลเจ้าองค์งัวผารุม ได้ประชุมหมู่เสนาอามาตรราชมนตรีพระธุโยธาช้างเผือก และไพร่ฟ้าราษฎรแล้วก็เสด็จออกจากเมืองน่านไปถึงปากน้ำงาวผ่านทางผาขวาง แม่หล่าย ขึ้นดอยงาว ลงตีนขุนน้ำยาวเข้าเขตแขวงป่าเมืองยอดเกณฑ์ประชาราษฎร์ในเมืองยอดออกลาดตระเวน มีนายพรานป่าเป็นหัวหน้า นำออกตรวจจึงได้พบช้างพลายเผือกตามความประสงค์แล้วก็ก้มกราบทูลเจ้างัว ผารุม ที่สถิตอยู่ในค่ายพักท่านก็บัญชาให้เตรียมช้างค่อยออกลาดตระเวนให้ประชาชนป้องกันไว้อย่าให้ออกจากเขตได้เป็นอันขาด จนกว่าจะเตรียมช้างออกเสร็จแล้ว ประชาชนทั้งหลายก็ป้องกันรักษาอยู่อย่างแข็งแรง ได้ 10 วันจึงเสร็จเรียบร้อย วันที่ 11 เจ้างัวผารุมก็ปงอาญาให้เตรียมโยธาออกไถ่ต้อนช้างทั้งฝูงใหญ่ในวันนั้นช้างยังไม่ได้มาเข้าใกล้ค่ายเลยเจ้างัวผารุมจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเทพดาแห่งเจ้งเมืองนั้น ฝูงช้างทั้งหลายก็ได้ออกหนีเหลือแต่ช้างพลายสารตัวเดียวเข้าไปในคอกก็พร้อมกันปิดประตูคอกไว้เกณฑ์กันเฝ้า ระวังรักษาอย่างแข็งแรง วันลุนรุ่งเช้า เจ้างัวผารุมก็ปงอาญาให้แก่หมู่ควาญช้างต่อพ่อหนังทั้งหลาย นำช้างต่อเข้าเพื่อจะจับแต่ ก็ผิดหวังช้างต่อสู้ไม่ได้ แต่ก็เป็นด้วยอภินิหารของเทพดาอารักษ์ก็จับได้ด้วยอันง่าย แล้วนำออกมาดุจดั่งช้างธรรมดาที่เคยอยู่กับคนมาแล้ว ก็รู้ด้วยคำคนตามด้วยดีสอนง่ายรู้ภาษามนุษย์เสียด้วย สัตว์ป่าแท้ๆ ท่านมานึกฟังมนุษย์เราดีว่าเป็นสัตว์วิเศษก็ว่ายากสอนยากกระทั่งมีอาจารย์สอนแนะนำให้ทางดี ทำสิ่งที่ชอบและรัฐบาลบ้านเมืองมีกฎหมายโดยป้องกันปราบการกระทำด้วยกายและศีลธรรม ด้วยป้องกันทางใจอยู่เป็นอันมาก ก็ยังมีมนุษย์ฝ่าฝืนขัดขืนแง่ศีลธรรมกฎหมายเป็นอันมาก ขอให้ดูช้างเถิดมีศีลธรรมประจำใจทั้งยังมีเมตตากรุณาไม่ทำอันตรายแก่มนุษย์ หรือจะว่าช้างเผือกเขาเป็นสัตว์วิเศษ ละก้อ ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นสัตว์วอเศษเพียงใดก็ตาม คนอยู่ในเกณฑ์ที่ว่าสัตว์มีเท้าตั้ง 4 เท้านั้น ข้าพเจ้าพูดนอกเรื่องเสียแล้ว แต่เจ้างัวผารุมตั้งคอกช้างนั้น เวลานี้ก็ได้ชื่อว่า ตำบลผาตั้ง ตามทุกวันนี้ เมื่อเอาช้างเผือกออกมาผูกไว้นั้น เวลานี้ได้ชื่อว่าผาหลักตราบทุกวันนี้ ท่านฝึกมหาขุนช้างเผือก มาพร้อมกันแล้วเลี้ยงด้วยหญ้าที่นั่น เวลานี้ได้ชื่อว่าเมืองออย ตำบลออยตราบทุกวันนี้ ที่เอาราษฎรชาวบ้าน เปลี่ยนกันเฝ้าปัดปั๋วช้างที่นั่น เวลานี้ได้ชื่อว่าบ้านนาปัง ตำบลงิมทุกวันนี้ เมื่อช้างเผือกมาพักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งช้างก็เจ็บป่วย ท่านก็ให้หมอยาช้างเผือกในป่าที่นั่น ที่มาใส่ยาช้างได้ชื่อว่า ดงยา อยู่ทุกวันนี้ เมื่อช้างเผือกหายแล้วก็นำมาในที่แห่งหนึ่งก็พร้อมกันปงหมู่โยธาตั้งอยู่ที่นั่นเพื่อสมโภชน์ช้างที่นั้นก็ได้ชื่อว่า ปง เรียกกันว่าตำบลปง ได้ 15 วัน ก็ยกมาพักที่แพ พากันทำแพ เตรียมช้างเผือกขึ้นแพข้ามมาตกตำกลางแพก็ล่มคว่ำลง ช้างก็ตื่นตกใจแล้วก็กระโดดลงน้ำแม่ยมที่นั้นได้ชื่อว่าท่าฟ้า ช้างเผือกออกจากท่าน้ำบันดาลวิ่งเข้าดงไป ก็ไปร้องเสียงดังสนั่นที่นั่น ได้ชื่อว่าหาดน้ำดังตราบทุกวันนี้ หมู่พรานป่าก็ตามช้างไปในป่าแห่งหนึ่งก็พากันเข้าแอบเรียบป่าอยู่ที่นั้น ที่นั่นเรียกแฝงเป็นว่า ป่าสระ เปรียบทุกวันนี้ เมื่อได้พบช้างเผือกแล้วก็ล้อมวงจับเอาช้างนั้นก็สมบรูณ์ เพราะว่าช้างสระเยี่ยวสระขี้ ดังใจในที่นั้นคนทั้งหลายเรียกว่า ตำบลสระ ตราบทุกวันนี้ เมื่อได้ช้างมาแล้วเอามาผูกไว้ที่ไม้ค่า คนทั้งหลายเรียกว่า ค่าหลักช้างเมื่อถึงบ้านแห่งหนึ่งราษฎรทั้งหลายได้พากันทูลขวัญช้างพลายเผือกก็สู่ขวัญช้าง เจ้างัวผารุมก็เป็นมหาปางอันใหญ่มี จ้อย ซอ ขับเพลงต่างๆ เป็นอันม่วนยิ่งหนักหนา คนทั้งหลายเรียกกันว่าตำบลเชียงม่วนจนตราบทุกวันนี้ เจ้างัวผารุมเอาของที่เหลือไปเป็นปูจ้างและของทั้งหลาย ยกไปไว้ที่วันตกบ้านได้ชื่อว่า ดอยปู่ป๋อ แล้วที่นั่นเจ้างัวผารุมก็ยกเอาริพลโยธา นำช้างพลายเชือกขึ้นสู่เขาแห่งหนึ่ง หาน้ำอันจะกินจะใช้บ่ได้ แล้วริพลโยธาทั้งหลายก็หิวน้ำมากนัก เจ้างัวผารุมจึงสัจจะอธิฐานขึ้นในที่นั่น ก็มีประชาชนไปเห็นใส่น้ำไหลออกจากดอยแห่งหนึ่งที่หลืบผาที่นั้นก็มาบอกเจ้างัวผารุม ว่ามีน้ำไหลออกมาแต่หลืบผามีที่นั้น เจ้างัวผารุมก็ใช้เสนาโยธาไปเอาน้ำที่นั้นมากิน และอาบตามใจประสงค์ดั่งความมักดั่งใจทุกอัน และคนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า น้ำบ่อสมปาน จวบทุกวันนี้ ใครไม่เชื่อก็ไปผ่อก็ได้ ท่านก็เอาช้างและริพลโยธาเดินลงดอยมาถึงยังวัดแห่งหนึ่งพักอยู่ได้ 10 วัน ก็บัญชาให้ราษฎรทั้งหลายไปนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ อยู่ที่นั้นแล้วสมโภชน์ช้างเผือกก็ทำศิริมงคลและอาศัยพลเมืองทั้งหลายร่วมกันจัด มีสวดมนต์ที่นั้น เป็นมหาปางอันยิ่งใหญ่ คนทั้งหลายจึงเรียกว่าเมืองสวดตราบทุกวันนี้ ส่วนข้าวของที่เหลืออยู่ที่นั้น มีข้าวและจิ้นปลาทั้งหลายเจ้างัวผารุมจึงเอาขึ้นเมียไว้ที่ดอยแห่งหนึ่งทางตะวันตกที่นั้น ต่อมาท่านก็นำโยธาคุมช้างพลายสาร เดินเข้ามาถึงเขตเมืองน่าน หยุดพักช้าง ม้า ผู้คนไพร่ฟ้า ราษฎร์ บริวาร โยธาราษฎร์ในเมืองน่าน หลั่งไหลออกไปต้อนรับรวมประชาราษฎร์ ทั้งหลายได้สามหมื่นคน ก็ชุมนุมกันสร้างป้อมยาม เตรียมตกแต่งให้คนทั้งหลายพากันสานถืบต๋องเหียงและต๋องตึงคนทั้งหลายเรียกกันว่า บ้านถืมต๋อง บ้านถืบต๋อง เรียกว่า ดงสามหมื่น ตราบทุกวันนี้ ท่านยกเอาริพลโยธาประชาบริวารช้างม้าราษฎรทั้งหลายตั้งขบวนแห่เอาช้างพลายเผือก แก้วมงคลเข้าเวียงน่านให้ผูกช้างพลายเผือกเข้าบ้านแห่งนี้ไว้ทางเหนือเวียงและตั้งธรรมเนียมไว้ว่า ทางทิศทางตะวันออกลงมงคลช้างเผือกแก้สนั้นแหละตั้งให้บ้านหนึ่งผั้นเชือกช้างพลายเผือกตั้งให้บ้านนี่นั้นเอาใจใส่กำกับประตูช้างเผือก และช้างเผือกแก้วมงคล เอาช้างเผือกลงกินและอาบน้ำให้นิทานกันว่า บ้านช้างเผือก ที่ตั้งทำเนียบชื่อว่าบ้านพระเนตร เพราะเจ้างัวผารุมเตียวไปทอดพระเนตรเล็งดูช้างนั้น และมีท่าน้ำน่านที่เอาช้างเผือกลงไปอาบ ได้ชื่อว่าบ้านท่าช้าง หมู่บ้านที่ฟั่นเชือกช้างและผูกเอาช้างชื่อว่าบ้านเมืองเลน หมู่บ้านที่ป้องกันระวังประตูช้างเผือก ได้ชื่อว่าบ้านประตูป่องนั้นเอง
(ผู้แปลจากภาษาล้านนา: นายปั๋น อินหลี,อดีตกำนันตำบลสวด) (ผู้นำมามอบให้: นายจรูญ วรรณวิไลย,อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหลวง)
ตำนานพระแก้วมรกต วัดหลวง ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จ.น่าน
พระแก้วมรกตของวัดหลวง ตำบลสวด อ.บ้านหลวง จ.น่าน ได้มาเมื่อใดนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ซึ่ง พ่อปั๋น อินหลี อดีตกำนันตำบลสวด ได้รับคำบอกเล่าจาก พ่อตามหาวรรณ (พ่อตาจันทร์) อยู่บ้านทุ่งผึ้ง ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ท่านบอกว่า พระแก้วมรกต ที่อยู่วัดหลวงองค์นี้ แต่เดิมมีคนบ้านหลวง เมืองสวด ชื่อนายใหม่บอน กับพวกหลายคนได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารสู้รบกับข้าศึกที่เมืองเชียงตุง (ปัจจุบันอยู่ที่ประเทศพม่า ทิศเหนือของจังหวัดเชียงราย) อยู่เป็นเวลานาน การสู้รบด้วย มีด หอก ดาบ ฟันแทงกับฝ่ายข้าศึก นายใหม่บอนรู้ว่าตนเองกับพวกมีความสามารถเก่งกล้าในทางไสยศาสตร์ มีคาถาอาคม เครื่องรางของขลัง และชั้นเชิงปฏิภาณไหวพริบได้สู้รบเต็มที่ ข้าศึกมีจำนวนมากกว่า จึงได้ออกมาอาศัยอยู่บนจอมปลวกที่สูงใหญ่ ตั้งหลักสู้รบกัน ฝ่ายข้าศึกปีนจอมปลวกขึ้นมาก็ถูกฝ่ายนายใหม่บอนกับพวกฟันแทง เพราะฝ่ายของนายใหม่บอนมีชั้นเชิงเหนือกว่า เมื่อฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาทางจอมปลวก ที่พวกนายใหม่บอนอาศัยอยู่ลูกปืนก็ไม่ถูกจอมปลวก ถึงแม้ข้าศึกจะใช้วิธีใดสู้รบก็ไม่สามารถจะสู้ได้ จนข้าศึกอ่อนกำลังลง ไม่สามารถจะสู้ต่อไปได้ จึงล่าถอยไป เมื่อข้าศึกถอยไปแล้ว นายใหม่บอนกับพวกจึงพิจารณาดูว่าที่จอมปลวกที่พวกตนใช้เป็นที่กำบังอยู่นั้นคงจะมีของดีอะไรสักอย่าง ที่ทำให้แคล้วคลาดจากอันตรายจากข้าศึก จึงได้ช่วยกันเสาะหาและขุดจอมปลวกดู ก็ได้พบพระแก้วมรกตองค์ดังกล่าวและพระสมาสเพชรอย่างง่ายดาย หลังจากนั้นไม่นานการสู้รบได้ยุติลงนายใหม่บอนกับพวกจึงเดินทางกลับบ้านพร้อมอัญเชิญพระแก้วมรกตมาด้วย เมื่อถึงบ้านนายใหม่บอนกับพวกจึงได้ปรึกษากับพวกญาติพี่น้อง ผู้เฒ่า ผู้แก่ เล่าเรื่องการสู้รบกับข้าศึกจนได้พระแก้วมรกตทั้งหมดให้ฟัง ทั้งหมดเห็นว่าพระแก้วมรกตองค์ดังกล่าวควรนำมาเก็บไว้ที่วัดหลวง เพื่อให้ชาวบ้านได้สักการะบูชาเป็นของคู่บ้านคู่เมืองสวด เป็นสิริมงคล ทำให้ชาวบ้านได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข เมื่อพระแก้วมรกตได้เก็บไว้ที่วัดหลวง ความทราบถึงเจ้านายฝ่ายเหนือ (ฝ่ายข้าราชการและฝ่ายสงฆ์) อยากจะเห็นองค์พระแก้วมรกตว่ามีลักษณะอย่างไร จึงเดินทางมาที่วัดหลวงหลายครั้ง พูดจาหว่านล้อม ใช้เล่ห์กลทุกวิธีทางเพื่ออยากได้พระแก้วมรกตองค์นี้ไปไว้ที่วัดใหญ่ในเมือง วัดที่เล็กไม่ควรเก็บไว้ ฝ่ายศรัทธาชาวบ้านไม่ยอมให้ดูบอกว่าไม่เคยรู้เคยเห็น บางครั้งเจ้านายฝ่ายเหนือได้เดินทางมาโดยไม่บอกล่วงหน้า เมื่อมาถึงวัดหลวงก็ไปตรวจดูที่แท่นพระทันที แต่ทางเจ้าอาวาส เณร ปฏิเสธทุกครั้ง หลังจากนั้นมีคนคิดวางแผนตอนกลางคืน มีคนจุดไฟเผาบ้านของพ่อเฒ่า แปง มงคล ซึ่งอยู่ใกล้วัดเพื่อให้ชาวบ้านแตกตื่นให้ช่วยกันไปดับไฟ ฝ่ายเณรทางวัดก็เก็บข้าวของหนีไฟชุลมุนวุ่นวาย จึงทำให้พระสูญหายไป 1 องค์ คือพระสมาสเพชร ซึ่งเก็บไว้คู่กับพระแก้วมรกต นับว่าเป็นความอัศจรรย์อย่างยิ่งที่องค์พระแก้วมรกต ไม่สูญหาย จึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวเมืองสวด ให้ได้สักการะบูชา สรงน้ำในวัน เข้าพรรษา ออกพรรษา และวันสงกรานต์ปีใหม่ทุกปี หลังจากมีเหตุการณ์ต่างๆมีผู้ไม่หวังดีอยากได้องค์พระแก้วมรกตไปครอบครอง ศรัทธาชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่จึงได้ตกลงกันว่า หากนำพระแก้วมรกตไว้ที่วัดจะสูญหายแน่ จึงตกลงกันว่าการรักษาองค์พระแก้วมรกตจะมีการหมุนเวียน ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความซื่อสัตย์ไว้ใจได้ เป็นผู้เก็บรักษา โดยหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามบ้าน เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาก็จะนำมารดนำสักการะ เสร็จแล้วก็เก็บไว้เหมือนเดิม
ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
พระมหาสมภพ วิริยมงฺคโล (พงษ์ด้วง) เจ้าอาวาสวัดหลวง
พระมหาสมภพ วิริยมงฺคโล (พงษ์ด้วง)
ปัจจุบันอายุ 32 ปี
บวชมาแล้ว 9 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระมหา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดหลวง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระมหาสมภพ วิริยมงฺคโล (พงษ์ด้วง)
พระมหาสมภพ วิริยมงฺคโล (พงษ์ด้วง) เจ้าอาวาสวัดหลวง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษาวิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2558
อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวง
hjyku |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอิ่นคำ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอิ่นคำ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ถึงปัจจุบัน |
uiop |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
การจัดการศึกษาภายในวัดหลวง
การจัดการศึกษาภายในวัดหลวงนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- ศูนย์วัฒนธรรม