ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดนาส้าน
- ชื่อวัด: วัดนาส้าน
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 3 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 2 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 3 หมู่ 3 ส้าน สา-นาน้อย ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55110
- เนื้อที่: 6 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา
- โทร: 0869070898
ประวัติความเป็นมา
บ้านส้านเหนือ หมู่ 10 ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงสา ประมาณ 6 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 30 กิโลเมตร เดิม บ้านส้านเหนือ อยู่ในเจตการปกครองของบ้านส้าน หมู่ 3 มีประวัติเก่าแก่นานกว่า 200 ปี ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2390 มีชาวบ้านประมาณ 50 ครอบครัว ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่กลางป่า ซึ่งล้อมรอบด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ชื่อว่า ต้นส้าน ลำต้นขนาดใหญ่สุด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 คืบ ชาวบ้านจึงนำเอาชื่อต้นส้าน มาเป็นชื่อของหมู่บ้าน ว่า บ้านส้าน และได้นำต้นไม้มาสร้างวัดขึ้่น และตั้งชื่อวัดว่า วัดนาส้าน บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านยังมีต้นอ้อขึ้นอยู่เต็มไปหมด ฤดูแล้งใบไม้แห้ง ไฟไหม้ แลุะลุกลามเผาผลาญบ้านเรือนไปหลายสิบหลังคา ชาวบ้านจึงได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนใหม่ ทางทิศตะวันออก ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำน่าน และท้่ายหมู่บ้าน เป็นลำน้ำแหง ซึ่งเป็นลำน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาขุนสถาน ไหลผ่านอำเภอนาน้อยขึ้นมาทางเหนือ ไหลลงสู่แม่น้ำน่านที่บ้านส้าน พร้อมกับชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ชื่อ วัดนาส้าน ต่อมาเกิดอุทกภัยหลายปีติดต่อกัน จึงได้อพยพกลับมาตั้งบ้านในพื้้นที่แรกตั้งบ้านส้านเดิม
ในปี พ.ศ. 2495 พระอธิการอินแปลง โกสโล เจ้าอาวาสวัดบ้านส้าน และผู้นำชาวบ้านได้ประชุมชาวบ้าน และมีมติให้ย้ายหมู่บ้านให้ไกลจากที่ตั้งหมู่บ้านเดิมอีก เพราะแม่น้ำไหลท่วม สร้างความเสียหายให้แก่ชาวบ้าน ตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำน่าน 2-3 กิโลเมตร ชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกสร้างบ้านและสร้างวัด โดยใช้ช่ื่อหมู่บ้านว่า บ้านส้าน และวัดนาส้าน
อ้างอิงจาก : http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/137002/
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2404
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2505
ข้อมูลเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558
พระครูวิวิตรนันทศิลป์ ชุติปณฺโญ เจ้าอาวาสวัดนาส้าน
พระครูวิวิตรนันทศิลป์ ชุติปณฺโญ
ปัจจุบันอายุ 51 ปี
บวชมาแล้ว 30 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าขณะตำบล ชั้นโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดนาส้าน และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูวิวิตรนันทศิลป์ ชุติปณฺโญ
พระครูวิวิตรนันทศิลป์ ชุติปณฺโญ เจ้าอาวาสวัดนาส้าน
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
อดีตเจ้าอาวาสวัดนาส้าน
พระอธิการก๋าวิใจ สีลสาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธืการคุ๋นนา อินทปญโญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการพรหมวงค์ สีลปุญโณ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการบุญผาผ ปรสุทฺโธ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการทองคำ อันฺทวณฺโณ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอินสอน ปญญาสาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการบุญศรี สีลาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการอินแปลง โกสโล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการฉลวย อภิปุญโญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอธิการประเสริฐ ชุติปญโณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ถึงปี พ.ศ.2558 |
พระครูวิวิตรนันทศิลป์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.2558 |
นายสมฤทธิ์ ใจสุภาพ (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
ช่าง สะล้อ ชอฟิน ซึง
นายเกียนติ ปันชุม (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
เป่าแน แข่งเรือล่องน่าน ตีปานแข่งเรือ (ดนตรีเป่า)
นายวิลัย บุญนัก (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
หมอทำขวัญ ส่งเคราะห์
ไทยยวน (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
ทำไร่ ทำ สวน ทำนา หาเช้ากินค่ำ อยู่ตามป่าดอย
ล้านนา (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
พูดคำล้านนา พัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ถือผี (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
เลี้ยงผีบ้านผีเรือง ผีไร่ ผีนา ถ้าไม่สบายจะเสี่ยงทายว่าผีอะไรทำให้เขาได้เจ็บ ต้องแก้บนถึงจะหาย
ประเพณีทางพระพุทธศาสนา (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
ทานสลาก ยี่เป็ง ปี๋ใหม่เมือง เข้าพรรษา ออกพรรษา สรงน้ำพระพุทธรูป
ขุดเรือแข่ง เรือสวยงาม (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
เป็นการแข่งขันการขุดเรือให้สวยงาม
เครื่องสังเวย (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
สงเคราะห์ สูขวัญ เลี้ยงผี
สะล้อ ซอ ซึง จ้อย (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
ขับร้อง ให้เกิดเสียง
กลองยาว (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาส้าน
ตีกลองยาวในงาน พีธีต่างๆ
การจัดการศึกษาภายในวัดนาส้าน
การจัดการศึกษาภายในวัดนาส้านนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนวัยเรียน
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล