ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดหนองแดง
- ชื่อวัด: วัดหนองแดง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 11 รูป
- สามเณร: 7 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 39 หมู่ 1 หนองแดง ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55160
- เนื้อที่: 15 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา
- โทร: 089 023 9846
- แฟกซ์: 054 797 292
- เว็บไซต์: NDM1.NET
ประวัติความเป็นมา
ตั้งอย่บ้านหนองแดง เลขที่ 39 หมู่ 1 ตำบลเปือ อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 73 ตารางวา ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2330
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2365 กรมศิลปกรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน วันที่ 27 ตุลาคม 2524ผู้เริ่มก่อตั้งได้แก่พระธรรมวงศ์ครู นายครูบาอาณา ผู้สร้างองค์พระประธานคือ ครูบาสิทธิการ ซึ่งเป็นที่มาของต้นตระกูลของนามสกุล "สุทธการ" ของชาวบ้านหนองปัจจุบัน การบูรณะครั้งแรกประมาณปีปี พ.ศ 2492 ครั้งที่ 2 เมื่อ
พ.ศ 2538 ครั้งที่ 3 เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ 2557 โดยพระครูพิบูลนันทวิทย์ เจ้าอาวาสวัดหนองแดง เจ้าคณะตำบลเปือ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบเฉพาะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
มีหลังคาที่ชั้นเพื่อระบายน้ำฝนได้อย่างรวดเร็ว มุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ด รูปทรงรูปร่างค่อนค่างเตี้ยผนังใช้อิฐถือปูน สิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่นฐานชุกชีที่พับรอบด้วยนาคเรียกว่า นาคบรรลังก์
ช่อฟ้าแกะด้วยไม้สักทองเรียกว่า นกหัสดีลิงค์ จิตรกรรมฝาผนังแสดงทศชาดกการบำเพ็ญเพียรของพระโพธิสัตว์ ซึ่งเขียนลงบนปูนที่ผสมด้วยสูตรสมัยโบราณ คันทวยรูปสัตว์ป่าหิมพานต์
ที่สอดแทรกด้วยปริศนาธรรม คำสอนต่างเสาแต่ละต้นจะเจาะรูสี่เหลี่ยมไว้อย่างน่าสนใจ
วิวัฒนาการ นับเป็นสถาปัตยากรรมท้องถิ่นที่สร้างมานานกว่า 228 ปี พื้นปูนอิฐและปูนเททับหน้า ต่อมาด้วยความชื้นจากดินทำให้พื้นวิหารเสียหายฝนทำกระเบื้องกระเบื้องไม้และโครง
หลังคาผุจึงต้องมีการซ่อมแซม จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้าง รูปทรงที่ออกมาจะมีลักษณะที่เตี้ยทึบหลังคาทรงสูงเมื่อได้เข้าไปในวิหารก็มีความรู้สึกว่าอากาศถ่ายเทดี แสงสว่างส่องสท้อน
กับองค์พระประธาน และลวดลายต่างๆ ที่มีสีทองทำให้เกิดความขลังศักดิ์สิทธิ์ ฝ้าเพดานติดดอกลายฉลุปิดทอง
บทสรุป วัดหนองแดง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2330 บูรณะครั้งล่าสุด วันศุกร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2557 พระครูพิบูลนันทวิทย์ เจ้าคณะตำบลเปือ เจ้าอาวาสวัดหนองแดง ภายในมีลานกว้างร่มรื่น
ช่อฟ้าสลักรูปนกหัสดีลิงก์ เป็นนกในวรรณคดีมีจงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐานบนฐานชุกชีเรียกว่า
นาคบัลลังค์ จากความเชื่อที่ว่านาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และเป็นอารักษ์แห่งพุทธศาสนา นับเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบไทยลื้อที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน คงจะเป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้าย
ที่ยังเหลืออยู่ที่จะอนุรักษ์ไว้ให้คงสภาพเดิม เพื่อการสืบทอดมรดกทางสถาปัตยกรรมของช่างรุ่นนี้ เอาไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าของท้องถิ่น สืบไป
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2330
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2365
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดหนองแดง
กิจกรรมของวัดเพื่อนนักการท่องเที่ยวที่จะได้รับ ชมการแต่งกายวิถีของคนไทลื้อโดยเฉพาะ ไม่มีที่ไหนเหมือน ๑. พิธีสืบชะตาแบบไทลื้อ ๒.พิธีบายศรีสู่ขวัญโดยคนไทลื้อ ๓.การกรวดน้ำผ่านตัวปลามงคลลงไปสู่ภพภูมิ ๔.พิธีห่มโพธิ์ ค้ำโพธิ์ เชิญตุงปราสาท ๕.สรงน้ำพระเจดีย์แห่งความเมตตาจะทำให้มีคนเมตตารักใคร่ เหมาะทางการค้าขาย ฯ หากจะร่วมพิธี แจ้งให้ทางวัดทราบอย่างน้อย ๕ วัน
ความน่าสนใจภายในวัดหนองแดง
ที่ 16 พฤษภาคม 2557 พระครูพิบูลนันทวิทย์ เจ้าคณะตำบลเปือ เจ้าอาวาสวัดหนองแดง ภายในมีลานกว้างร่มรื่น
ช่อฟ้าสลักรูปนกหัสดีลิงก์ เป็นนกในวรรณคดีมีจงอยปากยาวคล้ายงวงช้าง ซึ่งชาวไทลื้อเชื่อว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงจากสวรรค์ เชิงชายประดับไม้ฉลุลายเฉพาะของชาวไทลื้อ องค์พระประดิษฐานบนฐานชุกชีเรียกว่า
นาคบัลลังค์ จากความเชื่อที่ว่านาคเป็นเครื่องหมายแห่งความสง่างาม ความดี และเป็นอารักษ์แห่งพุทธศาสนา นับเป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแบบไทยลื้อที่หาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน คงจะเป็นวิหารไม้รุ่นสุดท้าย
ที่ยังเหลืออยู่ที่จะอนุรักษ์ไว้ให้คงสภาพเดิม เพื่อการสืบทอดมรดกทางสถาปัตยกรรมของช่างรุ่นนี้ เอาไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าของท้องถิ่น สืบไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2558
พระครูพิบูลนันทวิทย์ ปุญฺญกาโม เจ้าอาวาสวัดหนองแดง
พระครูพิบูลนันทวิทย์ ปุญฺญกาโม
ปัจจุบันอายุ 59 ปี
บวชมาแล้ว 37 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าคณะตำบลชั้นโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดหนองแดง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูพิบูลนันทวิทย์ ปุญฺญกาโม
พระครูพิบูลนันทวิทย์ ปุญฺญกาโม เจ้าอาวาสวัดหนองแดง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามจร.พะเยา เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2545
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองแดง
ครูบาธรรมวงศ์ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาสิทธิการ สุทฺธสีโล |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบานาย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาอาณา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2464 ถึงปี พ.ศ.2492 |
พระบริยศ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ถึงปี พ.ศ.2494 |
พระสวัสดิ์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 ถึงปี พ.ศ.2494 |
พระบุญเปลี่ยน |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 ถึงปี พ.ศ.2495 |
พระสุวัณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 ถึงปี พ.ศ.2497 |
พระคำจันทร์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 ถึงปี พ.ศ.2498 |
พระสมฤทธิ์ ปญฺญาธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2498 |
พระประเชียร จิตฺตาโภ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2499 |
พระบุญรัตน์ พุทฺธวํโส |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2499 ถึงปี พ.ศ.2500 |
พระทองอยู่ เกสาวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 ถึงปี พ.ศ.2501 |
พระสมจิตร ธีรจิตฺโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 ถึงปี พ.ศ.2502 |
พระเจียมศักดิ์ ฐานทตฺโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ถึงปี พ.ศ.2503 |
พระอินหลวย สิริจนฺโท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2503 ถึงปี พ.ศ.2505 |
พระสถิตย์ ยโสธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปี พ.ศ.2511 |
พระอุดร อุตฺตโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ถึงปี พ.ศ.2516 |
พระสนอง ปิยธโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 ถึงปี พ.ศ.2519 |
พระบุญส่วย สิริภทฺโท |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 ถึงปี พ.ศ.2520 |
พระสมเดช เตชวโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ถึงปี พ.ศ.2520 |
พระบุญเย็น ติกฺขธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ถึงปี พ.ศ.2522 |
พระเจียม สรณธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ถึงปี พ.ศ.2525 |
พระไข เกสรธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ถึงปี พ.ศ.2530 |
พระบุญเปลื่อง |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ถึงปี พ.ศ.2535 |
พระอธิการสังคม จารุโภ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ถึงปี พ.ศ.2541 |
พระวรุฒน์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ถึงปี พ.ศ.2542 |
พระเสนอ สุจิตฺโต |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 ถึงปี พ.ศ.2543 |
พระครูพิบูลนันทวิทย์ ปุญฺญกาโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ถึงปี พ.ศ.25.. |
พิธีห่มต้นโพธิ์ ค้ำต้นโพธิ์ (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดหนองแดง
ชื่อต้นโพธิ์ 1000 ปี เชื่อว่าชาวไทลื้อได้นำสมบัติฝังไว้ แล้วน้ำต้นโพธิ์ต้นนี้ฝังทับไว้
การจัดการศึกษาภายในวัดหนองแดง
การจัดการศึกษาภายในวัดหนองแดงนั้น จะประกอบไปด้วย
- โครงการวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชน
- โครงการลานบุญ ลานปัญญา
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นตรี (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นโท (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- จัดการศึกษาธรรมศึกษาชั้นเอก (เรียนเฉพาะเสาร์-อาทิตย์)
- เจ้าอาวาสเป็นผู้สอนนักธรรม