ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดพญาแก้ว
- ชื่อวัด: วัดพญาแก้ว
- ประเภทวัด: สำนักสงฆ์ (สส.)
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 2 รูป
- สามเณร: 3 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 96 หมู่ 4 พญาแก้ว ตำบลพญาแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55160
- โทร: 0843685077
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 29 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดพญาแก้ว
ตำนานหรือประวัติของเจ้าพ่อพญาแก้วและเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก
ในสมัยก่อนรุ่นปู่ย่าตายายท่านได้นับถือเจ้าพ่อข้อมือเหล็กกับเจ้าพ่อพญาแก้ว ซึ่งได้มีตำนานว่า สมัยที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่นั้นเจ้าพ่อข้อมือเหล็กมีคนนับถือจำนวนมาก ซึ่งมือชองท่านเจ้าพ่อข้อมือเหล็กแข็งแกร่งเหมือนเหล็กสามารถที่จะทุบมะพร้าวให้แตกได้และท่านยังมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า พญาหัวเหล็กซึ่งมีหัวที่แข็งคล้ายกับเหล็กท่านเจ้าพ่อข้อมือเหล็กอาญาบริเวณอย่างกว้างขวางบุคคลภายนอกห้ามเข้า วันหนึ่งมีชายแก่คนหนึ่งชื่อว่า พญาแก้ว ได้เมาเหล้าแล้วล่วงล้ำเข้ามาในเขตุบริเวณของเจ้าพ่อข้อมือเหล็ก และพญาแก้วยังกล่าววาจาท้าทายว่า “มันจะแน่ชักแค่ไหนกันเชียว” และยังเดินเข้าไปกินหัวหมูที่ชาวบ้านนำไปถวายให้เจ้าพ่อข้อมือเหล็ก เจ้าพ่อข้อมือเหล็กเห็นเข้าจึงโกรธและคิดจะฆ่าพญาแก้ว แต่พญาแก้วออกอุบายว่าขอกลับไปบ้านก่อนแล้วจะกลับมาให้ฆ่า พอพญาแก้วกลับไปที่บ้านก็ไปทำพิธีขึ้นครูแล้วก็กลับไปดงข้อมือเหล็ก เจ้าพ่อข้อมือเหล็กเห็นพญาแก้วเดินกลับมาตัวเต็มไปด้วยไฟก็รู้สึกกลัวจึงให้คนจัดอาหารให้กับพญาแก้วและพญาแก้วก็มีอาณาเขตบริเวณคือ “ดงพญาแก้ว” หรือ “ดงหลวง” และด้วยประหวัดเหล่านี้ของท่านทั้งสองจึงทำให้จึงมีผู้คนนับถือเจ้าพ่อพญาแก้วแบะเจ้าพ่อข้อมือเหล็กตราบจนทุกวันนี้ และเวลาบูชาถวายอาหาร
(เลี้ยงผีเจ้าหลวง) จะถวายเจ้าพ่อพญาแก้ว ก่อนที่จะบูชาเจ้าพ่อข้อมือเหล็กมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้มีการสร้างศาลเจ้าพ่อข้อมือเหล็กไว้ที่ฝายข้อมือเหล็กส่วนศาลเจ้าพ่อพญาแก้วได้สร้างบริเวณข้างวัดพญาแก้ว
ความน่าสนใจภายในวัดพญาแก้ว
ตำนานพื้นบ้าน
เรื่องนางผมหอม
เจ้าพระยาเมืองพญาแก้วมีบุตรสาวคนหนึ่ง ชื่อว่า นางเกสร วันหนึ่งนางเกษรได้เข้าไปเที่ยวในป่าซึ่งเป็นบริเวณน้ำตกผานางอิง (ในปัจจุบัน) นางได้ขี่ม้าไปและได้พบกับ กวางทองคำตัวหนึ่งวิ่งผ่านหน้านางจึงได้ขี่ม้าตามไปแต่ก็หาไม่พบจนเกิดอาการหิวน้ำจึงกินน้ำที่รอยเห้าช้างต่อมานางก็รู้สึกว่านางตั้งครรภ์และก็ได้ให้กำเนิดบุตรสาว โดยตั้งชื่อว่านางผมหอมเพราะผมของนางมีกลิ่นหอมและต่อมาอีกหนึ่งปีนางเกษรก็ได้ให้กำเนิดบุตรสาวอีกหนึ่งคน ชื่อว่านางสีดา เมื่อนางผมหอมมและนางสีดาโตขึ้น ได้ไปเล่นกับเพื่อนๆ และถูกเพื่อนๆล้อว่าเป็นลูกไม่มีพ่อ นางทั้งสองจึงพากันมาสอบถามนางเกษรผู้เป็นแม่ นางเกสรจึงเล่าเรื่องความเป็นมาทั้งหมด ให้ทั้งสองฟังโดยที่นางไม่ได้บอกนางสีดาว่า นางนั้นเป็นลูกของชายชู้ผู้เป็นมนุษย์ไม่ใช่ลูกของพญาช้างโพลงดังนั้นนางทั้งสองจึงเข้าใจว่า ตนเป็นลูกของพญาช้างโพลงและพากันออกตามหาผู้เป็นพ่อจนกระทั่งวันหนึ่งนางทั้งสองก็ได้พบกับพญาช้างโพลงชึงเมื่อพญาช้างโพลงได้พบกับนางทั้งสองตามสัญชาติญานของช้างโพลงนั้นเป็นสัตว์ดุร้าย เป็นครึ่งช้างครึ่งภูตจึงมีอิทธิฤทธิ์มากซึ่งพอได้เห็นนางทั้งสองก็อยากที่จะกิน แต่นางทั้งสองเห็นก็ยกมือไหว้ พญาช้างโพลงเห็นก็เกิดความสงสารจึงสอบถามความเป็นมาจึงได้รู้ว่าตนเป็นพ่อของนางทั้งสองแต่พญาช้างโพลงต้องการที่จะพิสูจน์ความจริง จึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่าถ้าใครคือบุตรสาวของตนให้สามารถขึ้นบนงาโดยที่ไม่ตกลงมา ชึ่งนางผมหอมนั้นสามารถขึ้นไปอยู่บนงาช้างโดยที่ไม่ตกลงมา ส่วนนางสีดานั้นได้พลัดตกลงมาและเสียชีวิตพญาช้างโพลงโกรธที่ถูกหลอกจึงใช้งาแทงนางและกินนางเป็นอาหารและได้พานางผมหอมขึ้นบนหลังและเลี้ยงนางอย่างดี พญาช้างโพลงได้สร้างแอ่งน้ำให้นางผมหอมไว้เป็นของตนเองเพื่อที่นางจะได้อาบน้ำและส่องเงาของนางเวลาใดที่นางต้องการที่จะอาบน้ำและส่องเงาของนาง นางก็จะนั่งอิงกับผาหิน หลายปีต่อมาพญาช้างโพลงก็ได้ตายจากไปผู้คนทั้งหลายจึงได้นำงาของพญาช้างโพลงมาทำเป็นแพพานางผมหอมเข้าสู่เมืองแต่พอพามาถึงแก่งเสือเต้น(บริเวณแก่งสะม้าเก้าบั้งในปัจจุบัน)นางผมหอมได้ถูกเสือกินจนเป็นตำนานเล่าขานจนถึงปัจจุบัน(แต่บางคนเล่าว่านางผมหอมได้แต่งงานกับลูกพญาเจ้าเมือง)ซึ่งยืนยันจากรอยเท้าของนางผมหอมที่มีอยู่บริเวณน้ำตกผานางอิงและตำนานเรื่องของนางผมหอมได้ถูกนำไปเขียนเป็นพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเผยแพร่ทั่วภาคเหนือซึ่งตำนานเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขื้นบริเวณดอยช้างโพลงและบริเวณน้ำตกผานางอิงในปัจจุบัน
ข้อมูลเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558
พระปลัดอินทอง สีลโชโต เจ้าอาวาสวัดพญาแก้ว
พระปลัดอินทอง สีลโชโต
ปัจจุบันอายุ 48 ปี
บวชมาแล้ว 28 พรรษา
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดพญาแก้ว และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระปลัดอินทอง สีลโชโต
พระปลัดอินทอง สีลโชโต เจ้าอาวาสวัดพญาแก้ว