ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดนาทะนุง
- ชื่อวัด: วัดนาทะนุง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 5 รูป
- สามเณร: 1 รูป
- ที่ตั้ง: เลขที่ 40 หมู่ 3 นาทะนุง ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน รหัสไปษณีย์ 55180
- เนื้อที่: 3 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา
- โทร: 085-7188468
ประวัติความเป็นมา
วัดนาทะนุงมีชื่อเดิมว่า วัดศีลามงคลด่านใต้ สร้างขึ้นเมื่อจุลศักราช 1242 ปีมะโรง เดือน 8 เหนือ จึ้น 11 ค่ำ วันศุกร์ในสมัยนั้นเรียกว่าเมืองหิน ในขณะนั้นเมืองหินที่นี้มีพ่อพระยาพรมปัญญาซึ่งเป็นผู้คิดสร้างวัดศีลามงคลด่านใต้ขึ้นมาพร้ออมด้วยกับศรัทธาทั้งหมด 78 หลังคาเรือน พร้อมตูบน้อยมีเท่านั้น ภายในหมายมีครูมาเจ้าอัถถะรัสสะภิกขุ(วัดเปียง) เป็นอิสระภะทะดี แก่ผู้ข้าทั้งหลายเรียงนั้นมาหมายมีตุหลวงกันทะระภิกขุและตุ๊สุนันทะภิกขุพร้อด้วยก๋าริยาสามเณร-อัถะสามเณร ครูอัถถะพร้อมลูกหลานจู่คน ก็พร้อมใจกันเป็นอันหนึ่งเดียวหันประมาณว่าได้ 78 หลังคาเรือนรวมทั้งตูบน้อยตั้งมวลเต่านี้ก็ได้ ปากั๋นจั๊กเจินแปล๋งยังวัดวาอารามนามวิเศษว่า วัดศีลามงคลด่านใต้ เพื่อไว้หื้อเป็นตี่ไหว้แก่คนทั่วไป ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดนาทะนุง ปัจจุบันวัดนาทะนุง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ต.นาทะนุง อ.นาหมื่น จ.น่าน ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมด 3 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2523
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 15 เดือน มกราคม พ.ศ. 2524
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดนาทะนุง
สำหรับอำเภอนาหมื่นเป็นอำเภอเล็กๆ แต่ยังคงไว้ซึ่งประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามไว้ และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง เช่น เสาหลักเมืองอำเภอนาหมื่น พระเจ้าแก้ววัดบ่อแก้ว และมีพระธาตุที่สร้างขึ้นหลายแท่ง มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่หลายแห่ง ซึ่งล้วนแล้ว อต่เป็นสิ่งที่ขาวอำเภอนาหมื่น ได้เคารพศรัทธาเป็นอย่างมาก ตลอดวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ ที่ดีงาม เช่น พิธีสืบทอดตาหลวง ของวัดนาทะนุง เทศนาธรรมมหาชาติของวัดนาหวาน ตานก๋วยสลากภัตร ของวัดพงษ์ เป็นต้น
ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558
พระสมุห์กิตตินันท์ ผาสุโก เจ้าอาวาสวัดนาทะนุง
พระสมุห์กิตตินันท์ ผาสุโก
ปัจจุบันอายุ 47 ปี
บวชมาแล้ว 13 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น พระสมุห์
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เลขานุการ เจ้าคณะตำบลวัดนาทะนุง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ประวัติด้านการศึกษาของพระสมุห์กิตตินันท์ ผาสุโก
พระสมุห์กิตตินันท์ ผาสุโก เจ้าอาวาสวัดนาทะนุง
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามาหาวิทยาลัยราชฏัชอุตรดิถ์ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2553
อดีตเจ้าอาวาสวัดนาทะนุง
พระครูบาอัถถะรัสสะภิกขุ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ตุ๊หลวงกันทะภิกขุ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ตุ๊นันทะภิกขุ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ครูบาอานุราชภิกขุ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระศรีวัย |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินแสง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเจริญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระมาลัย เมธฺกโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระจันทร จนฺทวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระอินผ่อง |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระค่ายแก้ว (วัดดอนมูล) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
หลวงปู่เทพวงค์เทพวํโส(วัดดอนมูล) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระถาวร ถาวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระธรรมสอน ธมฺสาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญเทียบ สุติธมฺโม |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระสงครามสิริปญฺโญ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระจรัส จนฺทวณฺโณ |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระถนอม(วัดสันทะ) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญส่ง(อุตรดิตถ์) |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระธรรมขัน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระเสน่ห์ ชินวโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
หลวงพ่อบุญวาท ปถากาโร |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระครูนันทะกิจวิธาน |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
นางปทุมมา ใจปินตา (ศิลปิน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 39 หมู่ 2 บ้านห้วยเสียบ
ความสามารถ : เป็นผู้ถ่ายทอดทางด้านวัฒนธรรมพื้นบ้านเรียกว่า ช่างซอ ซึ่งจะส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมที่จัดขึ้นในวัด และสืบสานวัฒนธรรมที่สืบไป
นายเกิด เสนใส (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 39 หมู่ 2 บ้านห้วยเสียบ
ความสามารถ : เป็นผู้สืบทอดทางด้านภาษาล้านนาและเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ
คนพื้นเมือง (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
ภาษาล้านนา (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
สืบชาตาหลวง (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
เป็นประเพณีได้จัดขึ้นเป้นประจำทุกปี ช่วงเดือน 4 เป็งของทางภาคเหนือ ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมายาวนาน มีการเรียกขวัญข้าว และสืบชาตาข้าว เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อเจ้าแม่โภสพ และให้พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
เพชรศิลามงคล (ศิลปการแสดงและดนตรี) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดนาทะนุง
เป็นกลุ่มคณะของเด็กและเยาวชนที่สืบสาน การแสดงของทางด้านศิลปะการฟ้อนดาบและบรรเลง สะล้อ ซอ ซึง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ
การจัดการศึกษาภายในวัดนาทะนุง
การจัดการศึกษาภายในวัดนาทะนุงนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล