ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดม่วยต่อ
- ชื่อวัด: วัดม่วยต่อ
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 6 รูป
- สามเณร: 33 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 21 หมู่ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ผดุงม่วยต่อ ตำบลจองคำ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปษณีย์ 58000
- เนื้อที่: 13 ไร่ 38 ตารางวา
- โทร: (053)611-316 หรือ 086-050-2423
ประวัติความเป็นมา
พ.ศ.2420 เจ้านางเมี๊ยะ ซึ่งเป็นภรรยาของพญาสิงหนาทราชา เป็นเจ้าฟ้าครองเมืองเป็นองค์ที่สอง ได้ครองเมืองอยู่ 7 ปี ก็ถึงอสัญญกรรม ผู้ที่มีศรัทธายิ่งในพระพุทธศาสนา จึงได้บริจาคทรัพย์ส่วนตัว จำนวน 35,000 รูปี ของอังกฤษ สมัยยึดครองอินเดียและพม่า เมื่อคิดเป็นเงินไทย ประมาณ 760,000 บาท ถวายขึ้นเพื่อสร้างวัด เมื่อทำการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งนามว่า วัดม่วยต่อ คำว่า "ม่วยต่อ" เป็นภาษาไทใหญ่ ในรัฐฉานมาก่อน เจ้านางเมี๊ยะและประชาชนเคยไปกราบไหว้และให้ความอุปถัมภ์ แล้วในคราวก่อนวัดม่วยต่อ อ.หมอกใหม่ และวัดม่วยต่อ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จึงมีความสัมพันธ์กันมาจนทุกวันนี้ เสนาสนะของวัดม่วยต่อ (หลังถูกรื้อเมื่อ พ.ศ.2506) สร้างด้วยศรัทธาของเจ้าแม่นางเมี๊ยะ จึงประณีตและมีลวดลายสวยงามมาก ในสมัยเดียวกันปรากฏว่า ไม่มีวัดอื่นที่มีความสวยงามแข่งได้ เจ้านางเมี๊ยะจึงตั้งใจเอาไว้ว่าจะประดับแก้วปิดทองให้สวยงามยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ได้ทำก็ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน วัดม่วยต่อ แปลว่า "วัดแห่งเจดีย์" สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2432 โดยเจ้าแม่นางเมี๊ยะ เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนองค์ที่สอง สร้างศาลาการเปรียญแบบไทยใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ.2427 ครูบาคำภีระ เจ้าอาวาสองค์แรกพร้อมศรัทธาร่วมกันสร้างเจดีย์ (ม่วยต่อ) 6 องค์ ขึ้น
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2437 วัดทรุดโทรมไปตามกาลเวลามาก พระราชวีรากร เจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงสร้างศาลาการเปรียญทรงไทยขึ้นใหม่ จนปัจจุบัน
ประวัติโดยสังเขปเขียนใหม่ปัจจุบัน วัดม่วยต่อ ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๑ ถนนผดุงม่วยต่อ ตำบลจองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงห์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ 38 ตารางวา โฉนดเลขที่ 664 อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 3 เส้น 15 วา จดถนนสาธารณะทิศใต้ ประมาณ 1 เส้น 10 วา จดวัดพระนอน ทิศตะวันออก ประมาณ ๓ เส้น ๑๓ วา จดถนนผดุงม่วยต่อทิศตะวันตกประมาณ ๕ เส้น ๑๑ วา ๒ ศอก จดวัดพระธาตุดอยกองมู มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 3 แปลง เนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 95/7-10 ตารางวา โฉนดเลขที่ 454 456 1993
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโอสถ, ศาลาอเนกประสงค์, การเปรียญ, โรงครัว, กุฏิสงฆ์, ศาลาบำเพ็ญกุศล, เป็นที่ตั้งของ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ สำนักงานชมรมผู้สูงอายุจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วย
ปูชนียวัตถุ ประกอบด้วยพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระประธานที่ศาลาการเปรียญ เป็นพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ ศิลปะพม่า พระพุทธรูปสิงห์ 1 จำนวน 1 องค์ สิงห์ ๓ จำนวน 1 องค์ งาช้างแกะสลักเป็นพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ศิลปะพม่า จำนวน 2 คู่ แท่น พระแบบปราสาทยอดแหลมเจดีย์ จำนวน 1 แท่น หอบรรจุระฆังแบบกระดิ่งลูกใหญ่ จำนวน 1 หลัง
วัดม่ยต่อ สร้างเมื่อ พ.ศ.2466 ความเป็นมาของชื่อวัดเนื่องจากเจ้าอาวาสรูปแรกได้ย้ายมาจากวัดม่วยต่อ อำเภอหมอกใหม่ ในรัฐฉานแห่งสหภาพพม่า จึงได้นำเอาชื่อวัดม่วยต่อมาใช้ ผู้สร้างวัดม่วยต่อ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ เจ้าแม่นางเมี้ยะ เดิมชื่อว่าวัดม่วยต่อ ชาวบ้านเรียกว่า จองม่วยต่อ ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2468
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม มีดังต่อไปนี้ คือ
รูปที่ 1 พระคำภีระ คมฺภีโร พ.ศ.2432-2459
รูปที่ 2 พระครูวิริยะมงคล สังคะวาหะ พ.ศ.2459-2472
รูปที่ 3 พระครูวิริยะมงคล ศาสนาดา พ.ศ.2472-2476
รูปที่ 4 พระครูโสภณสวัสดิการ พ.ศ.2476-2484
รูปที่ 5 พระราชวีรากร พ.ศ.2484-2510
รูปที่ 6 พระมหาธรรมศร ฐานิสฺสโร พ.ศ.2510-2519
รูปที่ 7 พระอธิการอเนก นาถธมฺโม พ.ศ.2520-2530
รูปที่ 8 พระครูอนุศาสน์โสภณ ตั้งแต่ พ.ศ.2531 เป็นต้นมา
ปัจจุบัน วัดม่วยต่อ เป็นวัดที่ให้การส่งเสรืมการศึกษาแก่เยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาตอลดมา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม นักธรรมชั้นตรี,โท,เอก และแผนกสามัญศึกษา ม.1-6 ตั้งอยู่ในวัด จึงมีพระภิกษุ-สามเณร มาพำนักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากทุกปี
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2466
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2467
• วัดพัฒนาตัวอย่าง พ.ศ. 2507
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดม่วยต่อ
วัดม่วยต่อ เป็นวัดที่อยู่ติดเชิงเขา ของวัดพระธาตุดอยกองมู อยู่ทางทิิศเหนือของวัดพระนอน ติดกับถนนสาธารณะ บริเวณเจดีย์ 6 องค์ ติดกับทางเดินเท้าขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู บริเวณลานเจดีย์เป็นสนามหญ้าในช่วงฤดูฝนหญ้าจะเขียวสด มองเห็นทองฟ้าสวยงาม มีอุโบสถศิลปะไทใหญ่ผสมล้านนา ซึ่งสามารถมองได้อย่างเด่นชัดคู่ขนานกับบันไดนาค ทางขึ้นลานเจดีย์ 6 องค์ บริเวณด้านหน้าลานเจดีย์จะมีหอพระพุทธเจ้า-ซู-ตอง-เป้ (พระทันใจ) กู่บรรจุอัฏฐิของบรรพบุรุษทั้งหลาย และมีหลุมหลบภัย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ทางวัดจะได้ทำการบูรณะ จัดสวนหย่อมให้สวยงามยิ่งขึ้นไป
ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556
พระครูอนุศาสน์โสภณ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดม่วยต่อ
พระครูอนุศาสน์โสภณ อภิวฑฺฒโน
ปัจจุบันอายุ 58 ปี
บวชมาแล้ว 38 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าคณะอำเภอชั้นโท
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดม่วยต่อ และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอ (จอ.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอนุศาสน์โสภณ อภิวฑฺฒโน
พระครูอนุศาสน์โสภณ อภิวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดม่วยต่อ
จบการศึกษาศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถานบันการศึกษามจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.2545
อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วยต่อ
พระครูบาคำภีระ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2432 ถึงปี พ.ศ.2459 |
พระครูวิริยะ มงคลสังฆวาหะ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2449 ถึงปี พ.ศ.2472 |
พระครูวิริยะมงคล ศาสนะธาดา |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2472 ถึงปี พ.ศ.2476 |
พระครูโสภณ สวัสดิการ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 ถึงปี พ.ศ.2484 |
พระราชวีรากร (มหาบุญมาญาณนคุตฺโต) |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 ถึงปี พ.ศ.2510 |
พระมหาธรรมศร ฐานิสฺสโร |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ถึงปี พ.ศ.2519 |
พระอธิการ เอนก นาถ ธมฺโม |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ถึงปี พ.ศ.2531 |
พระครูอนุศาสน์โสภณ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ถึงปัจจุบัน |
การจัดการศึกษาภายในวัดม่วยต่อ
การจัดการศึกษาภายในวัดม่วยต่อนั้น จะประกอบไปด้วย
- จัดการศึกษาแผนกธรรม-บาลี
- โครงการส่งเสิรมเด็กชาวเขาเรียนปริยัติ
- จัดการศึกษาแผนกธรรม
- เจ้าอาวาสเป็นผู้สอนนักธรรม
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งการเรียนรู้ศีลธรรมในวัด
- อุทยานการศึกษา
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- ศูนย์บริการผู้สุงอายุในวัด
- หน่วยเผยแพร่ศีลธรรม/ศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน