สถานที่ตั้ง
วัดปางหมู ตั้งอยู่เลขที่ 162 บ้านปางหมู ถนนสายแม่ฮ่องสอน - ปาย หมู่ที่ 1 ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58000 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน ส.ค.1 เลขที่ 357 และ 1479
พิกัด X = 391227 พิกัด Y = 2140460
สภาพแวดล้อม
ลักษณะของสภาพแวดล้อมทั่วไปของวัดปางหมู ประตูทางเข้าของวัดปางหมูจะเป็นประตูที่มีการสร้างด้วยศิลปะแบบไทใหญ่ โดยมีการสร้างเสาทางเข้าวัดทั้งสองข้างเป็นรูปกลองก้นยาว ฐานข้างบนจะมีการปั้นรูปผู้ชายสองคนแต่งกายชุดไทใหญ่ แบกฆ้องใบใหญ่แสดงท่าทางกำลังตีฆ้องส่วนทางด้านข้าง มีหญิงไทใหญ่กำลังรำและชายไทใหญ่กำลังตีฉาบ ข้างหน้าเสาทางเข้าวัดจะมีเสาสี่เหลี่ยมสองเสา เสาแรกจะปั้นเป็นรูปชาย ไทใหญ่ ก้าลายส่วนเสาที่สองปั้นเป็นรูปหญิงไทใหญ่ถือ ขันดอก ภายในวัดยังมีสถูปโบราณที่เก่าแก่ที่สร้างมานาน ถัดจากนั้นก็มีโบสถ์โบราณที่มีการสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นโบสถ์ที่เก่าแก่ที่สุดในวัดและโบสถ์หลังนี้ยังคงสภาพเดิมอยู่ เมื่อขึ้นไปถึงบนวัดก็จะเห็นพระประธาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะไทใหญ่ที่มีความงดงามและมีความเก่าแก่มาก เสาวัดปางหมูจะมีอยู่หนึ่งเสาที่สร้างไม่เหมือนวัดอื่นๆ คือสร้างเป็นรูปทรงของกลองก้นยาวที่สวยงามมีความสูงขึ้นถึงเพดานของวัด ซึ่งน่าจะเป็นวัดที่มีแห่งเดียวในโลกก็ได้ (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2533 : 1,009 )
นอกจากนี้ทางวัดยังได้มีการสอนศีลธรรม โดยมีการเขียนกลอนธรรมะไว้ตามเพดานวัด เพื่อเตือนสติของคนที่มาทำบุญที่วัด วัดปางหมูนั้นเป็นวัดที่เก่าแก่และคงความเป็นไทใหญ่ไว้มาก เป็นวัดที่ควรมาศึกษาธรรมะและศึกษาถึงความเป็นอยู่ของชาวไทใหญ่ ซึ่งจะเห็นจากการที่วัดมีการสร้างบ้านไทใหญ่แบบโบราณให้ผู้คนได้มาศึกษาถึง ความเป็นอยู่ของชาวไทใหญ่ในสมัยก่อน (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2533 :1009 )
ประวัติวัดปางหมู
วัดปางหมู สร้างเมื่อ พ.ศ. 2101 รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80เมตร (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2533 : 1,009 )
รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2533 : 1,009 )
รูปที่ 1 พระจิ๊กตะ
รูปที่ 2 พระมะซ้า พ.ศ.2405 - 2420
รูปที่ 3 พระคำ พ.ศ. 2420 - 2431
รูปที่ 4 พระลื้อ พ.ศ. 2431 - 2452
รูปที่ 5 พระพงษ์ พ.ศ.2453 - 2479
รูปที่ 6 พระเต่หวิ่งต๊ะ พ.ศ.2478 - 2492
รูปที่ 7 พระสุวรรณ พ.ศ. 2492 - 2507
รูปที่ 8 พระกมล โกมโล พ.ศ.2507 - 2508
รูปที่ 9 พระอธิการเล็ก ยุตฺตธมฺโม พ.ศ. 2508 - 2510
รูปที่ 10 เจ้าอธิการคำอู๋ โกวิโท พ.ศ. 2516 – 2534
รูปที่ 11 พระครูอนุยุตสังฆกิจ พ.ศ. 2534 – ปัจจุบัน
ลักษณะของสถาปัตยกรรม
ศิลปะทางสถาปัตยกรรมของวัดปางหมูจะเป็นศิลปะแบบไทใหญ่ ซึ่งจะสังเกตได้จากประตูทางเข้าวัดเสาปั้นเป็นกลองก้นยาวและ ป้ายวัดปางหมูก็มีชายสองคนถือฆ้อง และผู้หญิงไทใหญ่รำอยู่ข้างๆ ถัดมาด้านของศาลาการเปรียญ โบสถ์และเจดีย์ ก็มีศิลปะเป็นของไทใหญ่ซึ่งมีความเก่าแก่และความโบราณซึ่งอยู่คู่กับวัดปาง หมูมานานมากแล้ว ภายในศาลาการเปรียญจะมีพระประธานที่มีศิลปะออกมาทางไทใหญ่ผสมกับพม่าที่สวย งามและเก่าแก่ของวัด (กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2533 : 1 , 009 )
สิ่งสำคัญที่อยู่ในวัด (พระครูอนุยุตสังฆกิจ : 08/12/ 25 50)
1. พระประธาน เป็นพระประธานที่สร้างมานานมีลักษณะรูปทรงในการสร้างแบบไทใหญ่
2. สถูป เป็นสถูปที่เก่าแก่ที่สุดและสร้างมานานแล้ว