ประวัติวัดเมืองปอน
วัดเมืองปอน ตั้งอยู่เลขที่ ๙ บ้านเมืองปอน ถนนขุนปอนสถิต หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ และศาลาอเนกประสงค์
ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปพระประธานและภาพวาดศิลปะพม่า
วัดเมืองปอน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ ตามประวัติวัดแจ้งว่า ผู้สร้างคือ พระยาน้อยศรีไพศาล เจ้าเมืองปอน และนายจองหม่อง คฤหบดีในหมู่บ้าน พร้อมกับชาวบ้านเมืองปอน ได้สร้างจองพารา (หอสวดมนต์) และศาลาการเปรียญ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๗ ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๑๖ นายเติ๊กอ่อง ได้สร้างกุฏิถวาย ๑ หลัง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๙
รายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ พระอกโค่ง พ.ศ.๒๓๙๗ – ๒๔๑๕
รูปที่ ๒ พระตินแต่ม พ.ศ.๒๔๑๖ – ๒๔๒๐
รูปที่ ๓ พระกัน พ.ศ.๒๔๒๐ – ๒๔๓๑
รูปที่ ๔ พระครูบาโณ พ.ศ.๒๔๓๑ – ๒๔๔๕
รูปที่ ๕ พระญาณศรี สิริญาโณ พ.ศ.๒๔๔๕ – ๒๔๕๔
รูปที่ ๖ พระแก้ว พ.ศ.๒๔๕๔ – ๒๔๖๑
รูปที่ ๗ พระสวาท พ.ศ.๒๔๖๑ – ๒๔๖๖
รูปที่ ๘ พระปัญญา พ.ศ.๒๔๖๖ – ๒๔๗๗
รูปที่ ๙ พระถนอม พ.ศ.๒๔๗๗ – ๒๔๘๕
รูปที่ ๑๐ พระส่างหลี พ.ศ.๒๔๘๕ – ๒๔๙๓
รูปที่ ๑๑ พระเต็งห่าน พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๔๙๙
รูปที่ ๑๒ พระมหาผาย พ.ศ.๒๔๙๙ – ๒๕๐๕
รูปที่ ๑๓ พระอารินทร์ พ.ศ.๒๕๐๕ – ๒๕๐๘
รูปที่ ๑๔ พระเกษม พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๑๓
รูปที่ ๑๕ พระครูสุภาจารคุณ พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๒๗
รูปที่ ๑๖ พระครูอนุวัตรสมณคุณ ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๘
วัดเมืองปอน เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไทยใหญ่ เป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของชุมชน ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทยใหญ่ วิหาร กุฏิและศาลาการเปรียญรวมหลัวเดียวกันเป็นหลังคาไม้ หลังคาซ้อนแบบยกคอสองชั้นและมีชายคาสามตอนหรือที่เรียกว่า “หลังคาแบบสองคอสามชาย” เฉพาะวิหารมีหลังคาผสมระหว่างหลังคาซ้อนขึ้นแบบยอดปราสาท ประดับตกแต่งด้วยไม้หรือโลหะฉลุลาย พร้อมตกแต่งรางผึ้งประดับด้านหน้าแบบฉลุลาย โบราณสถานที่สำคัญ เช่น หอสรงน้ำพระพุทธรูป โบสถ์ พระพุทธรูปศิลปะมอญ – พม่า ธรรมาสน์ คัมภีร์โบราณไทยใหญ่ เป็นต้น