วัดศรีบุญเรือง
ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดศรีบุญเรือง
- ชื่อวัด: วัดศรีบุญเรือง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 5 รูป
- สามเณร: 111 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 1 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 142 หมู่ 2 เวียงใหม่ เวียงใหม่ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปษณีย์ 58110
- เนื้อที่: 3 ไร่ 2 งาน 15 ตารางวา
- โทร: 053-681861
- เว็บไซต์: tr_mahamunee@hotmail.com ข้อมูลเขตปกครอง http://www.watchommon.org/Maesaraingmonk.html
ประวัติความเป็นมา
วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔๒ ถนนเวียงใหม่ ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัด แม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่บริเวณจำนวน ๓ ไร่ ๒ งาน ๑๕ ตารางวา เดิมชื่อว่า จองหมากแกง (ภาษาไทยใหญ่) เพราะมีต้นมะขามใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของศาลาการเปรียญ คำว่า จอง หมายถึง วัด และคำว่า หมากแกง หมายถึง ต้นมะขาม โดยก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ ต่อมาสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อวัดเป็น “วัดศรีบุญเรือง”
๒. จุดเด่นภายในวัดประกอบด้วย
๑. ศาลาหลังใหญ่ สร้างตามแบบศิลปะไทยใหญ่ หลังคาซ้อนเป็นชั้นๆ ตามรูปแบบของชาวไทยใหญ่ที่ใช้สร้างวิหาร กุฏิ และศาลาการเปรียญ
ภายในมีภาพเขียนโบราณเรื่องพระเวสสันดรชาดก จำนวน ๑๒ กัณฑ์ ฝีมือช่างชาวพม่า
๒. อุโบสถ เป็นอาคารที่มีลักษณะการก่อสร้างเป็นไม้ผสมคอนกรีต หลังคารูปทรงปราสาทยอดแหลมประดับลายฉลุไม้ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่
๓. พระพุทธรูปหยกขาว เป็นพระพุทธรูปที่ทำจากหยกที่มีขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ แกะสลักจากเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า
๓. ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง
วัดศรีบุญเรืองมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย แต่วัดมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมไทยใหญ่ที่ โดดเด่นด้วยความสวยงามของศิลปะแบบไทยใหญ่ โดยเฉพาะศาลาการเปรียญหลังใหญ่ที่มีลักษณะหลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ประดับสังกะสีและลายแกะสลักไม้ ลวดลายละเอียด เป็นหลังคาซ้อนกันขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นทรงปราสาทสูงสถาปัตยกรรมแบบพม่า ๓ หลังติดกัน ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ มีคหบดีชาวไทยใหญ่ในอำเภอแม่สะเรียงร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างถวาย มีพระครูอนุสรณ์ศาสนเกียรติ (เส่งปาน) อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่สะเรียงและอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองเป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๐
ข้อมูลเขตการปกครอง แม่สะเรียง
http://www.watchommon.org/Maesaraingmonk.html
กิจกรรม งานฝ่ายสงฆ์เพื่อสังคมและชุมชน
Wat Sri Boon Ruang
1. General information:
Temple type: honour temple
denomination: Mahayana
Priests: 5
Novices: 111
Location: 142, Muu 2, Wiengmai , Tambol Maesarieng, Maesarieng district, Mae Hongson, 58110
Area: 5,000 square meters
Telephone: 053-681861
Website: tr_mahamunee@hotmail.com
www.watchommon.org/Maesaraingmonk.html
2. History:
The temple locates at 142, Muu 2, Wiengmai , Tambol Maesarieng, Maesarieng district, Mae Hongson, 58110. The old name was “Jong Makkaeng” in Tai language. Jong means temple and Makkaeng means Tamarind tree. There were a lot of Tamarind trees in the temple area. The temple was built in 1907. Field marshal Paek Piboonsongkram later changed the name to Wat Sri Boon Ruang.
Interesting attractions in the temple:
- The Big sermon hall was built in Tai style arts with layer roofs where there are 12 mural paintings of Vessatara (name of the Buddha in his tenth existence) painted by Burmese artists.
- Chapel was built with wood and concrete where there is high point perforated wooden roof. It locates an old Buddha image.
- White jade Buddha image was established in 2006. It was designed and carved in Burma.
3. Architecture characteristics:
The temple area is not that big. It includes a lot of beautiful Tai and Burmese style arts architectures. The 3 Big sermon halls are exquisite with big layer roofs decorated with galvanized iron and delicately carved wooden designs. They were built in 1917 by a wealthy person in Maesaraing district. Venerable monk Anusornsasanakiet (Seng-parn); previous monk dean of Maesaraing district and previous monk head of Wat Sriboonrueng took care of the designs. The temple location was offered by the royal family in 1937.
The current temple condition:
- It was registered as temple in 1907.
- The temple location was offered by the royal family in 1937.
Main annual activity:
- The Poy Sang Long Festival : The Poy Sang Long is a three-day celebration of Buddhist novice ordination which usually takes place in late March or early April of every year in the Thailand’s most north-western province of Mae Hong Sorn.
The festival is the custom and tradition of the Shans or Tai Yai an ethnic Thai tribe who migrated from northern Burma and then inhabited most of Mae Hong Sorn. The Tai Yais have a strong devotion to Buddhism, and to follow their age-old tradition the young boys between the age of 7 and 14 will be ordained as novices for a period to learn the Buddhist doctrinces and to gain merit for their parents. It is believed that the tradition is probably to follow in the footsteps of Prince Rahula, the first Buddhist novice who was the Buddha’s own son. The young prince gave up his worldly life to follow his father’s spiritual teachings.
The festival is rich in colour and display making it a most exciting event that draws residents of the entire province to take part. Prior to the arrival of the three-day festival, the boys have their heads shaved and are then bathed and anointed with special waters. They are dressed up in jewelled finery and their faces are expertly made up. These boys are known as the “Jewel Princes” or “Look Kaew” in Thai.
In the early morning of the first day, the celebration begins with a procession around the town. Accompanying the procession are flutes, lutes, fiddles, drums and cymbals. In the procession, each boy is accompanied by three attendants ; one to carry him, another to shelter him from the sun with a tall gold umbrella, and the third to guard the precious jewels. The Boys are led to visit relatives and friends and then join the communion lunch. After the feast, relatives and the elders tie white threads around the wrists of the boys to protect them from evil spirits. Thus ends the first day of the event.
On the second day, the same procession again takes place. This time, the procession includes offerings for the Buddha, other necessities for monks and a horse symbolising the vehicle of the spirit of the city pillar. In the evening, after having dinner, there is the rite of calling “spirit” or “Kwan” in Thai and a verbal recitation to prepare the boys for the actual ordination in the following day.
The last day begins with the procession of the boys to the temple for ordination. At the temple, the boys ask permission to be ordained from the senior monks. Once accepted, the boys then take vows, change the princely attires to yellow robes and become full novices. The greatest event then ends here.
The Poy Sang Long Festival attracts a large number of Thai tourists and has now become popular among foreign tourists as well.
Community importance:
1) It is a beautiful Shans or Tai Yai architecture temple in Maesaraing district, Mae Hongsorn province. It also provides educations to local people who are poor.
2) It is an education resource for arts and Buddhist people.
3) Religious activities are encouraged and well known for people.
4) A place for visit by important people such as His Majesty King Bhumibol Adulyadej and the family, and other well-known people.
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2480
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดศรีบุญเรือง
ประเพณี ปอยส่างลอง
( บวชลูกแก้ว ) ภาคฤดูร้อน บวชเรียนด้านพระปริยัติธรรมแผนกสามัญแผนกธรรมและบาลี ทุกปี ณ วันที่ 5-6-7
เดือน เมษายน
ความน่าสนใจภายในวัดศรีบุญเรือง
ประวัติวัดศรีบุญเรือง
ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ สมัยพุทธศักราช ๒๔๗๕
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ คณะสงฆ์อำเภอแม่สะเรียงและคณะศรัทธาวัดศรีบุญเรืองได้พิจารณาและแต่งตั้งให้พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์ ปัญยะขันธ์) เจ้าคณะตำบลแม่สะเรียง เขต ๑ เข้ามาดูแลและปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดให้มีความตั้งมั่นถาวร และได้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลาการเปรียญที่ชำรุดให้มีสภาพคงเดิมกับรูปแบบสมัยพุทธศักราช ๒๔๗๕ มากที่สุด
ศาลาการเปรียญปัจจุบัน พุทธศักราช ๒๕๓๗
ศาลาการเปรียญหลังใหญ่มีภาพเขียนโบราณเรื่องพระเวสสันดรชาดก จำนวน ๑๒ กัณฑ์ ฝีมือช่าง ชาวพม่า ใต้ภาพบรรยายเป็นภาษาพม่าและภาษาไทย เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาเรื่องราวชาดกที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
อุโบสถวัดศรีบุญเรืองเป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมไทยใหญ่ลายฉลุไม้สัก สไตล์วิคตอเรียหลังเดียวในประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๒
อุโบสถวัดศรีบุญเรืองก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณได้จัดหาทุนทรัพย์เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดศรีบุญเรืองทั้งภายในและภายนอกและยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบพม่าผสมไทยใหญ่ลายฉลุไม้สัก และปรับปรุงภายในอุโบสถให้มีความสวยงามและสามารถเป็นที่ทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น งบประมาณในการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดศรีบุญเรือง ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท อุโบสถวัดศรีบุญเรืองหลังการบูรณปฏิสังขรณ์
ด้านในอุโบสถวัดศรีบุญเรืองก่อนการบูรณปฏิสังขรณ์
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานอยู่ ๕ องค์ ฉากหลังเป็นซุ้มปูนปั้น ขอบนอกเป็นงานปูนปั้นลอยตัว ลงรักปิดทอง ส่วนด้านในประดับกระจกสีอยู่หลังพระพุทธรูปปูนปั้น
ด้านในอุโบสถวัดศรีบุญเรืองหลังการบูรณปฏิสังขรณ์
พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปตามลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพม่า ที่มีลักษณะของการผสมผสานความเป็นไทยด้วยการพาดทับผ้าสังฆาฏิ จีวรลงรักปิดทอง ลักษณะของจีวรที่ซ้อนเป็นริ้วๆ ปั้นโดยช่างชาวพม่า มีขุนจันต๊ะ นางคำแสน ตาวากุล พร้อมครอบครัวสร้างถวายเป็นพุทธบูชา อุโบสถหลังนี้คณะสงฆ์อำเภอแม่สะเรียงใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของพระภิกษุสามเณรในอำเภอแม่สะเรียงตลอดพรรษาเป็นประจำทุกปี
พระนวราชบพิตรประสิทธิ์ชัย
พระนวราชบพิตรประสิทธิ์ชัย(หลวงพ่อสำเร็จสมปรารถนาทันใจ)ประดิษฐาน ณ อุโบสถ วัดศรีบุญเรือง สร้างขึ้นในปี เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔๙ นิ้ว ความสูง ๑๐๘ นิ้ว มีลักษณะพระพุทธรูปทรงเชียงแสน ปั้นด้วยปูนแบบโบราณ และทรงเครื่องกษัตริย์ ประดับอัญมณี ๙ อย่าง ใช้เวลาปั้นภายในหนึ่งวันจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงเป็นที่กล่าวขานของพุทธศาสนิกชนและได้ขนานนามว่า “หลวงพ่อสำเร็จ สมปรารถนาทันใจ” และถวายนามเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พสกนิกรจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า “พระนวราชบพิตรประสิทธิ์ชัย” มีความหมายว่าเป็นศูนย์ที่ตั้งแห่งคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพสูงสุดและเป็นที่หมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนไทยทั้งชาติ
พระพุทธรูปหยกขาว
พระพุทธรูปหยกขาว สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก พระหยกขาวมีขนาดความสูง ๖ ฟุต ๙ นิ้ว ฐานกว้าง ๖๐ นิ้ว แกะสลักจากเมืองมัณฑเลย์ ประเทศพม่า แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีบุญเรือง
“โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม”
อุโบสถวัดศรีบุญเรืองสถานที่รับเสด็จฯ
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๐ คณะสงฆ์อำเภอแม่สะเรียงได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น วัดศรีบุญเรือง โดยก่อ สร้างโรงเรียนทางทิศเหนือของอุโบสถ เพื่อจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมให้แก่พระภิกษุสามเณรอำเภอแม่สะเรียง เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ พระครูอนุสรณ์ศาสนเกียรติ (เส่งปาน) ได้มรณภาพลง คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้พระครูอนุศาสน์ปุญญาทร (คำน้อย) เข้ามาดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างภายในวัด และเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖ อุโบสถวัดศรีบุญเรืองใช้เป็นสถานที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวอยู่และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในคราวที่ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอใกล้เคียง
“โรงเรียนพระปริยัติธรรมอำเภอแม่สะเรียง”
จุดเริ่มต้นการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ท่านพระครูอนุศาสน์ปุญญาทร (คำน้อย) ได้มรณภาพ เพื่อให้การดูแลและปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดมีผู้ควบคุมดูแลให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและถาวร คณะสงฆ์จึงได้พิจารณาและแต่งตั้งให้ พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์ ปัญยะขันธ์) เจ้าคณะตำบลแม่สะเรียง เขต ๑ เข้ามาดูแลจนถึงปัจจุบัน และวัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและบาลี ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๓๘ โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนแผนกนักธรรมและแผนกบาลี ชั้นเตรียมบาลี ประโยค ๑ – ๒, เปรียญธรรม ๓ – ๔ ประโยค โดยมีพระมหาณรงค์ เขมาภินนฺทเมธี (ณรงค์ ศิริอางค์) น.ธ.เอก, เปรียญธรรม ๕ ประโยค, พธ.บ เป็นครูผู้สอน และมีพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์ ปัญยะขันธ์) เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๐ วัดศรีบุญเรืองได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.๙) และพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิเชียร อโณมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ได้สนับสนุนโครงการบรรพชาสามเณรภาค ฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่างลอง) เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและ พระบรมวงศานุวงศ์เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาชนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น และร่วมสร้างเนื้อนาบุญในการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคง เน้นกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาชนด้านคุณธรรมจริยธรรม ขัดเกลาอุปนิสัยของเด็กและเยาชนให้อ่อนโยนด้วยการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า และวัดศรีบุญเรืองได้รับพระกรุณาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์โครงการและได้ประทานผ้าไตรในการจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่าง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
องค์อุปถัมภ์โครงการและได้ประทานผ้าไตร
“ ส่างลอง ” เป็นเนื้อนาบุญแห่งการสืบต่อพระพุทธศาสนา
ประเพณีปอยส่างลอง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จากการดำเนินงานตามโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่างลอง) ทำให้มีพระภิกษุสามเณรที่มีความประสงค์จะศึกษาเรียนรู้ด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีเพิ่มมากขึ้น และเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้สนับสนุนส่ง พระมหากิตติพงษ์ กิตฺติภทฺโท ป.ธ. ๗ เป็นครูสอน แผนกนักธรรมและบาลี จนมีพระภิกษุสามเณรสอบได้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ. ๙
พระภิกษุสามเณรผู้สอบเปรียญธรรมประโยคได้ ประจำปี ๒๕๕๔
“โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี แผนกสามัญศึกษา”
โรงเรียนของเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑ วัดศรีบุญเรืองได้ก่อสร้างอาคารเรียน ๒ ชั้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารจาก พระเดชพระคุณ พระเทพภาวนาวิกรม (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร และคณะศิษยานุศิษย์ รวมถึง ฯพณฯ บุญชู ตรีทอง คุณฉลอง ลิ้มเรืองโรจน์ คุณแม่อุบาสิกาสมบัติ สุขน้อยและบุตรหลาน คุณสุรชัย อารีย์สว่างกิจ และคุณบุญช่วย กรรตุกิตติ อาคารเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ถึง ๒๕๔๓ จึงก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ พระวิสุทธิวงศาจารย์ เจ้าคณะภาค ๗ อนุญาตให้ใช้ราชทินนามเดิมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อในการตั้งชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี” เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีให้แก่พระภิกษุสามเณรในอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอใกล้เคียง จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๗ ปัจจุบันวัดศรีบุญเรืองได้รับอนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยได้รับการอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ โดยมี สมเด็จพระวันรัต เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ วัดศรีบุญเรือง ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในชื่อ “โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี” สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) โดยมี พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ เป็นผู้จัดการโรงเรียน และพระมหาศักดิ์ชัย ปสิทฺธิปาเรสี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีคณะครู จำนวน ๖ คน ครูพิเศษ จำนวน ๔ คน รวมมีครู จำนวน ๑๐ คน และมีนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ จำนวน ๖๔ รูป
บริบทและความสำคัญต่อชุมชน
๑. บริบทและความสำคัญต่อชุมชน
วัดศรีบุญเรืองเป็นวัดเก่าแก่ มีศาสนสถานที่สวยงามและทรงคุณค่า มีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญเป็นประจำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้านศาสนา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่เป็นสถานศึกษาที่ส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่สูงจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ด้านทิศเหนืออยู่ติดกับท่ารถ บริษัท เปรมประชา จำกัด อำเภอแม่สะเรียง
ด้านทิศใต้อยู่ติดกับวัดจันทราวาส (วัดมัณตะเล)
ด้านทิศตะวันออกติดกับศูนย์การค้าและทิศตะวันตกอยู่ติดกับวัดอุทธยารมณ์ (วัดจองสูง)
วัดศรีบุญเรืองตั้งอยู่ในท่ามกลางสภาพชุมชนที่ได้รับการพัฒนาด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข และด้านอื่นๆ และอยู่ในเขตบริการเทศบาลตำบลแม่สะเรียง
๒. แหล่งเรียนรู้และการศึกษา
วัดศรีบุญเรืองมีศาสนสถานที่สวยงามและทรงคุณค่าทางด้านศิลปะ และแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา ในแต่ละปีการศึกษามีคณะครู นักเรียนในอำเภอแม่สะเรียงและใกล้เคียงมาทำบุญ เข้าศึกษาเรียนรู้ จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา และฝึกปฏิบัติธรรม ณ วัดศรีบุญเรืองเป็นประจำ ดังปรากฏภาพดังนี้
นักเรียนโรงเรียนบ้านจอมแจ้งมิตรภาพที่ ๑๙๓ จัดกิจกรรมเข้าวัดฟังธรรมเทศกาลเข้าพรรษา นักเรียนโรงเรียนทองสวัสดิ์วิทยาคารจัดกิจกรรมวันธรรมสวนะ
นักเรียนโรงเรียนแม่สะเรียง “บริพัตรศึกษา” จัดกิจกรรมพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมนักเรียน
แหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณี “ตานแตน (สลากภัตร)”
วัดศรีบุญเรืองได้รับเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นศาสนสถานดีเด่น
ตามโครงการลานบุญ ลานปัญญา
แหล่งเรียนรู้ด้านไอซีที
โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี แผนกสามัญศึกษา
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนครบ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง
จัดกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม เน้นการปฏิบัติศาสนกิจที่เกี่ยวข้อง
ผลบุญของพระพุทธศาสนา
๑. ผลบุญของพระพุทธศาสนา
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองได้ดำเนินการส่งเสริมการศึกษา สนับสนุนการเรียนรู้ของสถานศึกษา สนับสนุนบุคลากรเข้าร่วมเป็นพระวิทยากรพัฒนาจิตใจและให้ความรู้ด้านหลักธรรมพระพุทธศาสนา เผยแพร่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณรทั้งพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม บาลี และแผนกสามัญศึกษามาตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งพระสังฆาธิการ และพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาให้แก่ครู นักเรียน จัดเสนาสนะให้เหมาะสมในการบำเพ็ญบุญ การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และเหมาะสมในการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง ในการปฏิบัติศาสนกิจดังกล่าว ทำให้พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ผู้ดำริในการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดศรีบุญเรือง ได้รับการยกย่องชื่นชมจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกว่าเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม และเข้ารับรางวัลเสาเสมาธรรมจักรและโล่งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ เป็นองค์ประธานมอบเสาเสมาธรรมจักรและโล่งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ ประจำปี ๒๕๔๓ ณ มณฑลท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นองค์ประธานมอบเสาเสมาธรรมจักรและโล่งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ ประจำปี ๒๕๔๓ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓วัดศรีบุญเรืองได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความเหมาะสมและส่งเสริมการใช้ศาสนสถานให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้ของหน่วยงาน องค์กรด้านการศึกษาและสนับสนุนบุคลากรในการพัฒนาจิตใจและความรู้ทางพระพุทธศาสนามาโดยตลอด จากการพัฒนาให้ศาสนสถานมีความตั้งมั่นถาวร สวยงามและทรงคุณค้าทางด้านศิลปะ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนาให้แก่คณะครู นักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต ๒ พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้เข้ามาบำเพ็ญบุญ ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา และฝึกปฏิบัติธรรม ณ วัดศรีบุญเรืองเป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง วัดศรีบุญเรืองจึงได้รับการยกย่องชื่นชมจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มอบถวายรางวัลโครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔
รางวัลโครงการลานบุญ ลานปัญญา ปีงบประมาณ ๒๕๕๔
วัดศรีบุญเรืองจึงได้รับการชื่นชมจากคณะสงฆ์จังหวัดแม่ฮ่องสอนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ารับรางวัลสำนักเรียนที่จัดการศึกษาบาลีในระดับดีเด่น จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีสามเณรชาวเขาพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดใกล้เคียงมาบวชเรียนเป็นจำนวนมาก
๒. ผลบุญแห่งศรัทธา
วัดศรีบุญเรืองได้รับการตรวจเยี่ยมจากบุคคลสำคัญของประเทศ หน่วยงานต่างๆ และพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้เข้ามาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจและช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการปรับปรุงอุโบสถและเสนาสนะของวัดศรีบุญเรืองให้มีความเหมาะสม ถาวร สามารถใช้งานได้ และเข้าชม ศาสนสถานของวัด เข้ามาบำเพ็ญบุญประโยชน์ ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้ จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา และฝึกปฏิบัติธรรมเป็นประจำและอย่างต่อเนื่อง ดังปรากฏภาพดังนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ ทรงเสด็จเยี่ยมพสกนิกร ชาวอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ วัดศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๖วัดศรีบุญเรืองได้รับพระกรุณาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ องค์อุปถัมภ์โครงการและได้ประทานผ้าไตรในการจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เสด็จทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบภัยหนาวและปฏิบัติพระกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทรงเสด็จเยี่ยมพระภิกษุสามเณร ณ ศาลาสุโรเรยฺย วัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ได้เจริญพรรายงานเรื่องการจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ตามโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
มีราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอนเฝ้าฯรับเสด็จฯพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นจำนวนมาก
ณฉลอง ลิ้มเรืองโรจน์ และคณะ ประธานพิธีโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๕๔ รับโล่จากพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่วัดศรีบุญเรือง
ท่าน ส.ส.สุรสิทธิ์ ตรีทอง เดินทางมาตรวจเยี่ยมและเข้านมัสการพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ เป็นประธานพิธีปิดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๕๔ และรับโล่จากพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่วัดศรีบุญเรือง
ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พร้อมคณะ
เดินทางมาเยี่ยมวัดศรีบุญเรือง และเข้าสักการะพระประธานอุโบสถวัดศรีบุญเรือง
เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔
หลวงพ่อพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง พร้อมคณะสงฆ์พระภิกษุสามเณรทั้งนั้นสวดเจริญพุทธมนต์ ให้ศีลให้พรแก่ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย พร้อมคณะและได้ขออนุเคราะห์ให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนีอยู่ในความช่วยเหลือการจัดการศกษาให้แก่พระภิกษุสามเณรชาวเขาที่กำลังศึกษาและจำพรรษาอยู่ ณ วัดศรีบุญเรืองเป็นจำนวนมาก
พระครูอนุสิฐธรรมสาร รองเจ้าคณะจังหวัดแม่ฮ่องสอน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยกองมูเดินทางมาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจในการส่งเสริมการจัดการศึกษา
ของวัดศรีบุญเรือง
ท่าน พล.ท. วิเชียร ศิริสุนทร ได้เดินทางมาราชการและเข้านมัสการพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ
ถวายปัจจัยสมทบทุนการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดศรีบุญเรือง
นายสันตศักดิ์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ตรวจเยี่ยมและเข้านมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔
นายสืบศักดิ์ เอี่ยมวิจารณ์ นายอำเภอแม่สะเรียง และคณะ
ตรวจเยี่ยมและเข้านมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
นางนฤมล ปาลวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
เดินทางมาราชการเพื่อมอบหมายงานตามนโยบายในอำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อยและอำเภอสบเมย
เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕
พ.ท. ยศศักดิ์ บรรเทา ผู้แทนพระองค์ ได้นำถุงพระราชทานมาถวายที่ วัดศรีบุญเรือง
เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕
ผู้แทนพระองค์ได้เข้านมัสการและถวายถุงยังชีพพระราชทานแด่
ท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองและพระภิกษุสงฆ์
ม.ล. สราลี กิติยากร เดินทางมาตรวจเยี่ยมประชาชนอำเภอแม่สะเรียง
และเข้านมัสการท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕
ท่านเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองได้นำเสนอศาสนสถานที่สำคัญของวัด
และอุโบสถเคยใช้เป็นสถานที่รับรองการเสด็จเยี่ยมพสกนิกรชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
..................................................
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ปญฺญาขนฺโธ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ปญฺญาขนฺโธ ปัจจุบันอายุ 64 ปี บวชมาแล้ว 43 พรรษา มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าคณะตำบล แม่สะเรียง เขต 1 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าคณะตำบล (จต.)วัดศรีบุญเรือง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ปญฺญาขนฺโธ
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ปญฺญาขนฺโธ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง จบการศึกษาศึกษาระดับมศ.5 จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม เมธีวุฒิกร เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง
พระครูอนุสรณ์ศาสนเกียรติ ( เส่งปาน ) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2470 ถึงปี พ.ศ.2505 |
พระอนุศาสน์ปุญญาทร ( คำน้อย ) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 ถึงปี พ.ศ.2537 |
พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ ( ครูบาเขมรินทร์ ) | ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 ถึงปี พ.ศ..... |
ปอยส่างลอง บวชภาคฤดูร้อน 5-6-7 เม.ย ประจำปี (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดศรีบุญเรือง
“โรงเรียนพระปริยัติธรรมอำเภอแม่สะเรียง” จุดเริ่มต้นการศึกษาของพระภิกษุสามเณรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๗ ท่านพระครูอนุศาสน์ปุญญาทร (คำน้อย) ได้มรณภาพ เพื่อให้การดูแลและปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดมีผู้ควบคุมดูแลให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและถาวร คณะสงฆ์จึงได้พิจารณาและแต่งตั้งให้ พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์ ปัญยะขันธ์) เจ้าคณะตำบลแม่สะเรียง เขต ๑ เข้ามาดูแลจนถึงปัจจุบัน และวัดศรีบุญเรือง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและบาลี ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๓๘ โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนแผนกนักธรรมและแผนกบาลี ชั้นเตรียมบาลี ประโยค ๑ – ๒, เปรียญธรรม ๓ – ๔ ประโยค โดยมีพระมหาณรงค์ เขมาภินนฺทเมธี (ณรงค์ ศิริอางค์) น.ธ.เอก, เปรียญธรรม ๕ ประโยค, พธ.บ เป็นครูผู้สอน และมีพระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ (เขมรินทร์ ปัญยะขันธ์) เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดศรีบุญเรือง จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๐ วัดศรีบุญเรืองได้รับความเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.๙) และพระธรรมธีรราชมหามุนี (วิเชียร อโณมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ได้สนับสนุนโครงการบรรพชาสามเณรภาค ฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่างลอง) เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและ พระบรมวงศานุวงศ์เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาชนให้เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น และร่วมสร้างเนื้อนาบุญในการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคง เน้นกิจกรรมพัฒนาเด็กและเยาชนด้านคุณธรรมจริยธรรม ขัดเกลาอุปนิสัยของเด็กและเยาชนให้อ่อนโยนด้วยการศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า และวัดศรีบุญเรืองได้รับพระกรุณาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์โครงการและได้ประทานผ้าไตรในการจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่างลอง) ทุกปี จากการดำเนินงานตามโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน (ประเพณีปอยส่างลอง) ทำให้มีพระภิกษุสามเณรที่มีความประสงค์จะศึกษาเรียนรู้ด้านพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีเพิ่มมากขึ้น และเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ได้สนับสนุนส่ง พระมหากิตติพงษ์ กิตฺติภทฺโท ป.ธ. ๗ เป็นครูสอน แผนกนักธรรมและบาลี จนมีพระภิกษุสามเณรสอบได้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ. ๙
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑ วัดศรีบุญเรืองได้ก่อสร้างอาคารเรียน ๒ ชั้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างอาคารจาก พระเดชพระคุณ พระเทพภาวนาวิกรม (ธงชัย ธมฺมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร และคณะศิษยานุศิษย์ รวมถึง ฯพณฯ บุญชู ตรีทอง คุณฉลอง ลิ้มเรืองโรจน์ คุณแม่อุบาสิกาสมบัติ สุขน้อยและบุตรหลาน คุณสุรชัย อารีย์สว่างกิจ และคุณบุญช่วย กรรตุกิตติ อาคารเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ ถึง ๒๕๔๓ จึงก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณ พระวิสุทธิวงศาจารย์ เจ้าคณะภาค ๗ อนุญาตให้ใช้ราชทินนามเดิมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อในการตั้งชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี” เปิดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลีให้แก่พระภิกษุสามเณรในอำเภอแม่สะเรียง และอำเภอใกล้เคียง จนถึงพุทธศักราช ๒๕๔๗ ปัจจุบันวัดศรีบุญเรืองได้รับอนุญาตจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยได้รับการอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๔ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า คณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ โดยมี สมเด็จพระวันรัต เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ วัดศรีบุญเรือง ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ในชื่อ “โรงเรียนพระปริยัติธรรมธีรราชมหามุนี” สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) โดยมี พระครูอนุสรณ์ปัญญาคุณ เป็นผู้จัดการโรงเรียน และพระมหาศักดิ์ชัย ปสิทฺธิปาเรสี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีคณะครู จำนวน ๖ คน ครูพิเศษ จำนวน ๔ คน รวมมีครู จำนวน ๑๐ คน และมีนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ จำนวน ๖๔ รูป
การต้องลาย (ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดศรีบุญเรือง
การจัดการศึกษาภายในวัดศรีบุญเรือง
- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
- จัดการศึกษาแผนกธรรม-บาลี
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แหล่งการเรียนรู้ศีลธรรมในวัด
- โครงการลานบุญ ลานปัญญา
- ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพ
แผนที่ตำแหน่งที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองอ้างอิงจาก Google Map