ระบบสืบค้นขั้นสูง

« กุมภาพันธ์ 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
31
30
29
28
27
26
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
1

วัดทุ่งแล้ง

ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดทุ่งแล้ง

  • ชื่อวัด: วัดทุ่งแล้ง
  • ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
  • นิกาย: มหานิกาย
  • พระภิกษุ: 2 รูป
  • สามเณร: 9 รูป
  • ลูกศิษย์วัด: 2 คน
  • ที่ตั้ง: เลขที่ 179 หมู่ 1 บ้านทุ่งแล้ง ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปษณีย์ 58110
  • เนื้อที่: 3ไร่ 4 งาน 48.9 ตาราวา

ประวัติความเป็นมา

วัดทุ่งแล้ง เดิมตั้งอยู่บ้านลุ่ม ของหมูบ้านทุ่งแล้ง บริเวณที่ตั้งของโรงเรียนบ้านศรีมูลเมือง ปัจจุบัน ประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมาฝนตกหนักน้ำยวมหลากท้วมไหลเปลี่ยนทิศทาง พัดพาเอาบ้านเรือน วัดทุ่งแล้งเดิม ไร่นา เสียหาย ทำให้พระพุทะรูปเก่าแก่สำคัญสององค์พร้อมกุฏิ และเสนาสนะต่างๆไหลไปกับกระแสน้ำยวม การเกิดอุทกภัยคั้งนี้ทำให้ชาวบ้านบางกลุ่ม ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราบเชิงเขาด้านทิศตะวันตก (ได้แก่บ้านบน - บ้านดอน) แต่ที่มีชาวบ้านบางส่วนยังคงปักหลักอยู่ที่บ้านลุ่มเดิม นายปัญญา บุตรของนายปวง ผู้นำหมุ่บ้านเดิมได้รับแต่งตั้งจากเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นขุนไพจิตร เป็นผู้นำในหมู่บ้านซึ้งเป็นต้นตระกุลปวงคำคง ได้เป็นผู้นำชาวบ้านช่วยกันแผ้วถางที่ดินบนหนองบัวที่พระพุทะรูป 2 องค์ ไปติดค้างอยู่ คือบริเวณที่ตั้งวัดทุ่งแล้งปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งวัด
วัดทุ่งแล้ง ตั้งอยู่เลขที่ 179  หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายเริ่มสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2410 ได้รับเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2452 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2538 เขตวิสุงคราสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร เป็นวัดราษฎร์  ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 4 งาน 48.9 ตารางวา
วัดทุ่งแล้งเป็นวัดที่พร้อมด้วยเสนาสนะ วัดหนึ่งของอำเภอแม่สะเรียง มีถาวรวัตถุและเสนาสนะที่สร้างเส็จแล้ว เพื่อให้พุทะศาสนานิกชนประกอบกิจกรรมทางพระพุทะศาสนาดังนี้
อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย
1. พระอุโบสถ
2. พระวิหาร
3. กุฎิสงฆ์
4. ศาลาการเปรียญ
5. ศาลาอเนกประสงค์
6. หอกลอง
7. หอระฆัง
8.โรงครัว
ปูชนียวัตถุ ประกอบด้วย
1 พระพุทธรูป
2. พระเจดีย์
3. พระบรมสารีริกธาตุ
วัดทุ่งแล้งสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2441 โดยมีพ่อหลวงปวง ปวงคำคง ขุนไพจิตร ปวงคำคง เป็นผู้นำหมู่บ้านพร้อมด้วยชาวบ้านในหมูบ้านทุ่งแล้งได้ช้วยกันแผ้วถาง
สร้างวัดขึ้น
วัดทุ่งแล้งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร
 

สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน

• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2452
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2538

สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดทุ่งแล้ง

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชนบท ที่มีพื้นที่ติดกับภูเขา ชาวบ้านทุ่งแล้งส่วนใหญ่มีวิธีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม โดยมีวัดทุ่งแล้งเป็นศูนย์รวมของประชาชนและมีพระพุทธศาสณาเป็นแกนหลักในแต่ละปีมีงานประเพณีที่สืบทอดกันมาคือประเพณีออกพรรษาจะนิมนต์พระมาบินทบาตร 119 รูปทุกปีและจะมีงานตลอด 2-3 วันและมีการขายของแบบสมัยโบรานโดยจะใช้ตะเกียงในการจุดให้แสงสว่างหรือเรียกอีกอย่างว่า กาดคั่วฮอม ของคนเมือง

กิจกรรม ถวายสลากภัต (ตานแตน)
วันที่เริ่ม เดือน 12 เหนือ ขึ้น 11 ค่ำ เวลา 06.00 น เป็นต้นไปศรัทธานำสลากภัต(ก๋วยสลาก - สังฆ์) มาพร้อมกันที่วัด นิมนต์พระสงฆ์ 30 วัด มาจับสลาก (จับฉลาก) เวลา 09.30 น.ไหว้พระ - รับศีล - ฟังเทศน์ เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพลเล้ยงอาหารศรัทธาวัดต่างๆที่มาร่วมทำบุญ ประมาณ 800 คน เวลา 11.30 น. ถวายสลากภัตร เป็นเสร็จพิธี

กิจกรรมถวายเทียนพันเล่ม (ตานเตียนแห็ง)
วันที่เริ่ม เดือนเกี๋ยงเหนือแรม 1 ค่ำ เวลา 09.00 ศรัทธามาร่วมแต่งดาเตียนเห็ง ทำต้นเทียน 1000 เล่ม ทำสวยดอกไม้ 1000 กลวย ทำต้นเงิน 11 ต้น นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปมารับไทยทาน เวลา 21.00 น. ไหว้พระ - รับศีล - กล่าวคำถวายเทียน 1000 เล่ม ดอกไม้ 1000 กลวย พระสงฆ์ 9 รูป อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี งานนี้จะมีพุทะศาสนิกชน มาชมขบวนแห่เทียนเห็งเป็นจำนวนมาก 

กิจกรรมสืบชะตาหลวงประจำปี
วันที่เริ่ม วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี คณะศรัทธาชาวพุทธทั่วไป นำดอกไม้ - รูปเทียน ด้วยสายสิน เสื้อผ้าลูก-หลาน ญาติพี่น้องมารวมกันที่วัด เวลา 09.30 น. พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทะมนต์ ศรัทธาทุกคนนำด้ายสายสินที่ีวัดจัดใว้ นำมาวางบนศรีษะ จนพระสงฆ์เจริญพระพุทะมนต์ และเทศน์ เสร็จ ผูกข้อมือพรมน้ำพระพุทะมนต์ เวลา 11.00 น. ถวายภัตรตาหารเพล เลี้ยงอาหารศรัทธาที่มาร่วมทำบุญเป็นเสร็จพิธี งานนี้จะมีศรัทธาทั่วไปมาร่วมประมาณ 300-500 คน

ความน่าสนใจภายในวัดทุ่งแล้ง

1.ปราช์ชาวบ้าน
นายมั่น น้อยสกุล บ้านเลขที่   หมู่ 1 ตำบลแม่คง  อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่อ่องสอน มีความรุ้เรื่องยาสมุนไพร การจับเส้น


2.ประเพณี / พิธีกรรม
นายสุรเดช เกษทอง เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆในหมู่บ้านและเป็นผู้จัดพิธีกรรม ทั้งงานมงคลและอวใงคลและงานต่างๆในหมู่บ้าน

3.ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน
นายปา ปวงคำคง มีความรู้ด้านจักสาน จักสานได้ทุกอย่าง และมีความรู้การทำประสาท ไทยทานจากไม้ไผ่และเขียนลายดอก สลักลายดอกจากกระดาษได้อย่างสวยงาม (ต้นครัวตาน)

4.ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน
นายศรีทน ปวงคำคง มีความรู้เรื่องก่อสร้าง และเรื่องจักสาน


5.ศิลปการแสดงและดนตรี
นายสมบูรณ์ คงแก้ว ตีกลองปู่จา กลองแอว สอนดนตรีพื้นเมืองและเล่นดนตรีพื้นเมือง

6.ศิลปการแสดงและดนตรี
นายบุญเรือง ปวงคำคง ตีกลองปู่จา กลองแอว เล่นดนตรีพื้นเมือง



ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556