วัดแม่สะลาบ ตั้งอยู่บ้านแม่สะลาบ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ตั้งวัดมีเนือ้ที่ทั้งหมด 28 ไร่ 3 งาน ที่อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 25 วา ทิศใต้ประมาณ 25 วา ทิศตะวันตกประมาณ 22 วา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาอเนกประสงค์และศาลาบำเพ็ญกุศล วัดแม่สะลาบได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2485
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2485
๑) วันวิสาขบูชา
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด เวลาสิ้นสุด
รายละเอียด : ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษคนที่ตายไปแล้ว เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ตอนเช้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด และรับศีล 5 ส่วนตอนเย็นมีการเวียนเทียน
๒) วันมาฆบูชา
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด เวลาสิ้นสุด
รายละเอียด : ถวายสังฆทาน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษคนที่ล่วงลับไปแล้ว
ตอนเย็นมีการเวียนเทียน
๑) วันอาสาฬหบูชา
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด เวลาสิ้นสุด
รายละเอียด : ปฏิบัติเหมือนวันวิสาขบูชา และวันมาฆบูชา ตอนเย็นมีการเวียนเทียน
๑. ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
กราบไหว้พระธาตุศรีมงคล เป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ชนเผ่ากะเหรี่ยงมีประเพรีวัฒนธรรมที่ดีงามเช่นเดียวกับคนไทยในชนบท ความเชื่อต่อพฤติกรรมต่างๆ นั้นก็เช่นเดียวกับสังคมไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นความนุ่มนวล อ่อนโยน อัธยาศัยไมตรี รอยยิ้มต่อทุกคนที่พบเห็น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นยังพาพบได้อยู่ทั่วไปในชุมชนกะเหรี่ยงบนภูเขา โดยชาวบ้านแม่สะลาบส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มาท่องเที่ยวชมได้
๒. ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม
ศิลปิน : นายปีพอ คิดมนัสจินดา
ที่อยู่ : 43/1 หมู่ 8 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : เป็นช่างซอของหมู่บ้าน
ศิลปิน : นายพะสิเจ ฉลองมนตรา
ที่อยู่ : หมู่ 8 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : ถ้าเกิดอะไรขึ้นในหมู่บ้าน เช่น คนตาย พ่อเฒ่าคนนี้จะทำหน้าที่เป็นคนซอ เพื่อส่งวิญญาณของคนตายไปสู่สุขติ
ปราชญ์ชาวบ้าน : นายสุจิตร วงศ์พนาไพร
ที่อยู่ : หมู่ 8 ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรต่างๆ ในการรักษาพยาบาลและบำรุงสุขภาพ เช่น สมุนไพรแก้ปวดท้อง ตลอดจนบำรุงกำลังของคนเฒ่าคนแก่
วิถีชีวิต
ชาติพันธุ์ : กะเหรี่ยงสะกุย เป้นชาวเขากระเหรี่ยง เดิมอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำสาละวินในประเทศจีนและได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว
ภาษา : ภาษากะเหรี่ยง (ปา-เกอะ-ญอ) ชาวกะเหรี่ยงทุกคนถือว่าต้องพูดจาด้วยความอ่อนโยน นุ่มนวล การพูดจาก้าวร้าวเพราะโกรธ เพราะไม่พอใจ หรือพูดจาแบบว่าสงอำนาจถือว่าเป็นเรือ่งผิดมารยาท ชาวกะเหรี่ยงจะสอนลูกหลานเสมอว่าเวลาพูดกับข้าราชการต้องพูดไพรเราะๆ เช่นคำว่า สะ-แอ แปลเป็นไทยว่า ไปเที่ยว
ประเพณี/พิธีกรรม : ฮี-โซ่ แปลเป็นไทย หัวหน้าหมู่บ้าน (หมอผี)
รายละเอียด : หน้าที่ของฮีโซ่ คือ ประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเจ้าที่เจ้าทาง วึ่งต้องมีประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง คนไทยมักเรียกพิธีกรรมนี้ว่า ปีใหม่กะเหรี่ยง ผีเจ้าที่เจ้าทางของชาวกะเหรี่ยงมีชื่อว่า ฮี-กระจ่า ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติซึ่งเป็นเจ้าของหมู่บ้าน คอยคุ้มครองดูแล ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวบ้านทุกคนที่ประพฤติตนถูกต้องอยู่ในครรลองของประเพณี
ประเพณี/พิธีกรรม : ตะมือข่า (สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ)
รายละเอียด : เจ้าของหมู่บ้านคุ้มครองทุกคนในหมู่บ้านให้สมบูรณ์พูนสุข ทำไร่ทำนาได้ผลดี เลี้ยงสัตว์ได้ผลดี ปราศจากภัยอันตรายใดๆ วิญญาณบรรพบุราคุ้มครองคนในครัวเรือนให้สุขสมหมาย ให้ไม่เจ็บไม่ไข้ ผู้ที่ทำดี มีคุณธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : ผลิตผ้าทอกะเหรี่ยง สินค้าของชุมชน ชาวบ้านแม่สะลาบร่วมใจทำผ่าทอกะเหรี่ยงเพื่อให้มีรายได้ของชาวบ้าน รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลิตผ้ากะเหรี่ยง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : ฮีซอโด่ ในเดือนมกราคมของทุกปี ชุมชนจะมีประเพณีการเลี้ยงผีประจำปี ซึ่งทุกๆปีจะต้องเลี้ยงไก่ 1 คู่ สุรา 1 ขวด แต่ถ้าครบ 3 ปี ก็จะต้องเลี้ยงด้วยหมู 1 ตัว และสุรา 1 ขวด