วัดคะปวงเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในถิ่นกันดาร เพราะอยู่ห่างจากตัวอำเภอแม่สะเรียงประมาณ 5 กิโลเมตร สร้างขึ้นสมัยที่พื้นที่ตรงนั้นยังเป็นป่าทึบ ถนนหนทางกันดาร การสัญจรไปมาไม่สะดวก สร้างโดยผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้าน ด้วยนำพักน้ำแรงและความสามัคคี เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องทุ่นแรงใช้ จนสำเร็จเป็นวัดที่มีกุฏิ วิหาร ศาลา ให้ชาวบ้านได้ทำบุญและปฏิบัติธรรม ปัจจุบันนี้วัดคะปวงเป็นที่ตั้งของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต) ของตำบลแม่ยวม มีศูนย์กลางการฝึกอบรมอาชีพ มีโรงทอ ของกลุ่มแม่บ้าน
วัดคะปวง ตั้งอยู่หมู่บ้านคะปวง หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2464 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2480
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2464
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2480
๑) รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันปี๋ใหม่ (วันสงกรานต์)
วันที่เริ่ม 13 เมษายน เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด 16 เมษายน เวลาสิ้นสุด ทำวัตรเย็น 16.00 น.
มีการเชิญผู้สูงอายุของหมู่บ้านมาที่วัด ให้ลูกๆ หลานๆ ได้รดน้ำดำหัวและขอพรในวันปี๋ใหม่เมือง
๒) บุญบ้องไฟปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์)
วันที่เริ่ม 15 เมษายน เวลาเริ่ม 09.00 น.
วันที่สิ้นสุด 15 เมษายน เวลาสิ้นสุด ทำวัตรเย็น 18.00 น.
งานบุญบ้องไฟจัดขึ้นเป็นประเพณีของวัดคะปวงและหมู่บ้านคะปวงทุกปี เพราะงานนี้ได้เริ่มทำกันมาตั้งแต่ ปู่ ย่า ตา ยาย แล้ว
๓) ทำบุญเดือน 12 เป็ง (วันลอยกระทง)
วันที่เริ่ม เช้าวันเพ็ญเดือน 12 เวลาเริ่ม 06.00 น.
วันที่สิ้นสุด ค่ำวันเพ็ญเดือน 12 เวลาสิ้นสุด ทำวัตรเย็น 10.00 น.
ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรที่วัด ตอนกลางวันมีการทำกระทงของชาวบ้าน ตอนค
มีขบวนแห่กระทงไปรอบหมู่บ้าน และตอนกลางคืนมีการลอยกระทง เป็นเสร็จพิธี มีการทำเป็นประเพณีทุกๆปี
ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
วัดคะปวงเป็นที่ตั้งของหน่วยอบรมประชาชนประตำบล (อ.ป.ต) ของตำบลแม่ยวม มีศูนย์ฝึกอาชีพ มีโรงทอผ้าของกลุ่มแม่บ้าน มีประเพณีรดน้ำดำหัว ในวันปี๋ใหม่เมือง (สงกรานต์) และการทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา งานบุญบ้องไฟวันสงกรานต์ วัดคะปวงเป็นวัดที่สงบ ร่มรื่น มีพระประธานในวิหารที่สวยงาม สมัยเมืองเทิง (เชียงรายปัจจุบัน) และมีสวนสาธารณะดงหอที่อยู่ใกล้กับวัด เป็นสถานที่ที่ร่มเย็น ร่มรื่น มีไม้ที่เก่าแก่นานาชนิด เมหาะสมที่จะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน
ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม
ศิลปิน : ทวี แสนปวง
ที่อยู่ : 152 หมู่ 8 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : นักร้อง นักดนตรี ซอพื้นเมือง และพิธีกรงานต่างๆของหมู่บ้านคะปวงและหมู่บ้านใกล้เคียง
ปราชญ์ชาวบ้าน : พ่อหนานปัน บุญยวง
ที่อยู่ : บ้านดง คะปวง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : เป็นหมอสะเดาะเคราะห์ ทำเทียนบูชา เรียกขวัญ ทำเครื่องสืบชะตา ผูกข้อมือ
วิถีชีวิต
ชาติพันธุ์ : ชนพื้นเมือง ชนเผ่ากะเหรี่ยง และชนเผ่าไทยใหญ่
ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นชนเผ่าหลักของหมู่บ้านคะปวง นอกนั้นก็มีชนเผ่ากะเหรี่ยงที่ลงมาซื้อที่ดิน ซื้อที่นาแล้วลงมาทำมาหากินภายในหมู่บ้าน และชนเผ่าไทยใหญ่ที่ลูก-หลาน มาเป็นเขย –สะใภ้ ของคนในหมู่บ้านคะปวง
ภาษา : ภาษาพื้นเมือง , ภาษากะเหรี่ยง , ภาษาไทยใหญ่
ใช้ภาษาของแต่ละชนเผ่า โดยมีภาษาพื้นเมืองเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร เพราะชนเผ่าพื้นเมืองมีจำนวมากกว่าชนเผ่าอื่น
ประเพณี/พิธีกรรม : ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันสำคัญ ประเพณีบุญบ้องไฟวันปีใหม่
รายละเอียด : ทำบุญตักบาตรในวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา วันพ่อ-วันแม่แห่งชาติ จุดบ้องไฟถวายเป็นพุทธบูชาในวันปีใหม่ (วันสงกรานต์)
ประเพณี/พิธีกรรม : ประเพณีทำบุญตักบาตรในวันสำคัญ ประเพณีเลี้ยงผีผูกข้อมือ
ประเพณีปอยส่างลอง
รายละเอียด : ประเพณีทำบุญวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา เป็นประเพณีของชนเผ่าพื้นเมือง ประเพณีผูกข้อมือ เลี้ยงผี เป็นประเพณีของชนเผ่ากะเหรี่ยง ประเพณีปอยส่างลองเป็นประเพณีของชนเผ่าไทยใหญ่
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : กลุ่มทอผ้าของแม่บ้านคะปวง มีการส่งเสริมการทอผ้าและการฝึกอาชีพทอผ้าให้กลุ่มแม่บ้านคะปวง โดยได้รับการสนับสนุนโดยเทศบาลตำบลแม่ยวมและพัฒนาชุมชนของอำเภอแม่สะเรียง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : กลุ่มจักสานของผู้สูงอายุบ้านคะปวง มีการทำไม้กวาด การจักสานตะกร้าและของใช้ต่างๆ มีกลุ่มแม่บ้านทำดอกไม้จันทน์ ทำช่อตุงต่างๆ ทำ
กระทง แลละเครื่องบายศรีสู่ขวัญในงานต่างๆ
ศิลปะการแสดงและดนตรี : กลุ่มสะล้อ-ซอซึง ดนตรีพื้นเมืองของหมู่บ้าน มีนัดดนตรี-นักร้องพื้นเมืองประจำหมู่บ้าน จะทำการแสดงในงานประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ (ปีใหม่เมือง) รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ประเพณีลอยกระทง
ศิลปะการแสดงและดนตรี : กลุ่มฆ้อง-กลองมองเซิง กลุ่มฆ้อง-กลองปู่เจ่
กลุ่มฆ้อง-กลองมองเซิง ใช้ตีบรรเลงในงานปอยส่างลอง
กลุ่มฆ้อง-กลองปู่เจ่ ใช้ตีบรรเลงในงานแห่งเครื่องไทยทานต่างๆ งานปอยหลวง งานบุญประจำปี งานสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ