เดิมทีเมื่อปี พ.ศ.2449 บ้านทุ่งแพมได้สร้างจัดขึ้นโดยสร้างเป็นที่พักสงฆ์ โดยมีพระดี จำพรรษาอยู่ ตั้งอยู่หมู่บ้านเดิม (บ้านลุ่ม) ต่อมาเมื่อปี 2940 ชาวบ้านได้อพยพย้ายบ้าน เพราะหมู่บ้านเดิมถูกน้ำท่วม น้ำกัดเซาะเข้าหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านคือ นายจันทร์ขาว หน่อแก้ว จึงได้อพยพหมู่บ้านพร้อมกับได้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ในพื้นที่ 4 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2500 เสร็จสมบูรณืเมื่อปี พ.ศ.2501 โดยมีพระพัดและพระคำปันจำพรรษาอยู่
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2527 ตอนนั้นมีนายสอน จันตา เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้ประชุมชาวบ้านขอย้ายวัดอีกเพราะที่เดิมมีน้ำท่วมขัง การเดินทางไปทำบุญของชาวบ้านยากลำบาก ชาวบ้านก็เห็นชอบให้ย้ายจึงได้วัดไปอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน (บนดอย) โดยได้ขออนุยาตจากท่านพระครูอนุสรศาสนเกียรติ เจ้าคณะอำเภอแม่สะเรียง โดยมีพระสมจำพรรษาอยู่ ต่อมาได้มีพระมหาสมภาร จากสิงบุรีมาจำพรรษาได้ร่วมกับชาวบ้านขุดดินขยายพื้นที่วัด และไดสร้างศาลาไว้หลังหนึ่ง
ปั พ.ศ.2534 พระอธิการชัชชัย ชัยธัมโม เป้นเจ้าอาวาสได้ร่วมกับชาวบ้านและศรัทธาจากจังหวัดสิงห์บุรี ร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีพระยก และพระพืชมงคล ปภัสโร เป็นเจ้าอาวาสจำพรรษาอยู่
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2483
๑) วันเข้าพรรษา-ออกพรรษา
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เวลาเริ่ม 07.00 น.
วันที่สิ้นสุด ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เวลาสิ้นสุด 20.00 น.
รายละเอียด : ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน ทำวัตรเย็นแปล ปฏิบัติธรรม วิปัสสนา แนวสติปัฏฐาน 4 ฟังธรรมทุกวันพระและปฏิบัติธรรมวิปัสสนา ทำวัตรเย็นทุกวันพระ ตลอดพรรษา 3 เดือน
๒) วันวิสาขบูชา
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี เวลาเริ่ม 08.00 น. – 20.00 น.
วันที่สิ้นสุด ขึ้ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี เวลาสิ้นสุด 20.00 น.
รายละเอียด : ทำบุญตักบาตรตอนเช้า ตอนเย็นทำวัตรแปล ปฏิบัติธรรม วิปัสสนา แนวสติปัฏฐาน 4 เวียนเทียน
๓) ประเพณีเดือนยี่เป็ง
วันที่เริ่ม ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เวลาเริ่ม 07.00 น.
วันที่สิ้นสุด แรม 1 ค่ำ เดือน 12 เวลาสิ้นสุด 23.00 น.
รายละเอียด : ทำบุญตักบาตรตอนเช้า ฟังธรรม พัฒนาวัด ตอนเย็นมีฟังธรรมอานิสงส์ยี่เป็ง จุดประทีป ลอยโคมไฟ จุดประทัด (บอกไฟ ภาษาเหนือ) วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 มีแข่งบอกไฟ มีดนตรี ตลอดทั้งคืน
๑. ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
วัด เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เพรามีป่าไม้ล้อมรอบทั่ววัด ร่มรื่น สงบเย็น ซึ่งจะร่มเย็นกว่าวัดอื่นๆ วัดทุ่งแพมอยู่กันแบบธรรมชาติไม่เน้นสิ่งก้อสร้างมากมายนัก ปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ ความวุ่นวายในเมือง ความทุกข์จากการงาน หน้าที่ ทุกข์ในสังคมแวดล้อมต่างๆ ซึ่งทุกข์คนล้วนมีทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น สิ่งจะพึ่งพาจิตใจคนได้ก็คือวัด วัดเป้นสถานที่พึ่งพาทางใจได้มากกว่าสถานที่อื่นๆ การได้มาวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม ก็เท่ากัยการสร้างตัวเองให้มีคุรธรรม มีศีล มีจิตใจที่ดี เพราฉะนั้นวัดทุ่งแพมเป็นอีกวัดหนึ่งที่ร่มเย็นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมอย่างมาก ซึ่งวัดก็จะสอน ปฏิบัติธรรม
วิปัสสนา แนวสติปัฏฐาน 4 คือ กาย สติ จิต ซึ่งเป็นทางสายเอก ทางสายตรง และทางเดียวที่จะทำให้คนเราพ้นทุกข์ และเข้าถึงพระนิพพานได้ ไม่ต้องเกิดมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เป็นหลายๆชาตินับไม่ถ้วน ซึ่งแต่ละชาติของคนเราก็ล้วนแล้วแต่เกิดมาใช้กรรมทั้งนั้น เกิดมาเป็นมนุษยชาตินั้นนับว่ามีบุญมากแล้ว ควรทำบุญ รักษาศีล และวิปัสสนา เกิดชาติหน้าจะได้เกิดในสถานที่ที่ดี ไม่ต้องรับทุกข์ เวทนามากนัก
๒. ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม
ศิลปิน : พ่อหนานสอน จันตา (สามารถซอพื้นเมืองได้)
ที่อยู่ : บ้านทุ่งแพม ซ.3 หมู่ 3 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านทุ่งแพม ซึ่งก็มีความรู้ความสามารถในการขับซอทางเมืองเหนือของเรา และก็เป้นผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ชาวบ้านก็ให้ความเคารพนับถือ และก็เป็นผู้พัฒนาหมู่บ้านในสิ่งต่างๆ เยอะมาก
ปราชญ์ชาวบ้าน : พ่อหนานมูล เชียงตา
ที่อยู่ : บ้านทุ่งแพม ซ.3 หมู่ 3 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : เป็นอาจารย์วัด มีความรู้ความสามารถในเรื่องวัด ศาสนพิธี พิธีกรรมต่างๆ การร้องขวัญ การส่งเคราะห์ ทำเทียนเป็นต้น ซึ่งพ่อหนานก็จะคอยบอกชาวบ้านให้พิธีกรรมต่างๆ และสอนว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
วิถีชีวิต
ชาติพันธุ์ : เผ่าลั๊วะ บ้านทุ่งแพมเดิมที่เป้ฯชนเขาเผ่าลั๊วะ โดยมีนายแสน เขื่อนคำ เป็นผู้นำ อพยพเข้ามาอยู่ประมาณ 20 ครอบครัว นับถือศาสนาพุทธ
ภาษา : ภาษาพื้นเมือง เป็นภาษาพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
ประเพณี/พิธีกรรม : ประเพณีเรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ)
รายละเอียด : เป็นประเพณีที่ชาวบ้านเชื่อถือ เวลาไม่สบายจะให้หมอ อาจารย์ มาเรียกขวัญเพื่อเป็นกำลังใจ ให้หายจากการเจ็บป่วย
ประเพณี/พิธีกรรม : สืบชะตา
รายละเอียด : เป็นประเพณีสืบทอดกันมานาน เวลาชาวบ้านเจ็บป่วยไม่สบาย ดูหมอ (เป้นความเชื่อของชาวบ้าน หมอ ก็คือปราชญ์ชาวบ้านที่รู้เรือ่งการดูหมอ วันปีเกิด เมื่อดูหมอแล้วชะตาขาด จะต้องมีการสืบชะตา) โดยนิมนต์พระมาทำพิธีสืบชะตาให้กับคนที่ป่วยไม่สบาย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : ชมรมผู้สูงอายุบ้านทุ่งแพม ทุกคนในชมรมล้วนแล้วแต่มีความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนั้น ซึ่งไม่มีใครเด่นหรือด้อยกว่ากันเลย งานวัดก็ดีก็ส่วนแล้วชมรมผู้สูงอายุมาจัดดาร่วมในงานทุกครั้ง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : แม่ขันแก้ว สุดใจ
รายละเอียด : เป็นผู้สูงอายุที่เข้าวัดตลอดมา ไม่เคยขาด ใส่บาตรทุกวันไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว ยกเว้นในตอนที่ไม่สบาย ซึ๋งมีความสามารถในการทำบายศรี ซึ่งทำแล้วสวยงามมาก มีงานบวช งานแต่ง ชาวบ้านก็จะให้แม่ขันแก้ว นี่แหละทำบายศรีให้ทุกครั้งไป
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : กลุ่มแม่บ้านทุ่งแพม
รายละเอียด : แม่บ้านทุกคนล้วนแล้วแต่มีศิลปะการแสดงต่างๆ กิจกกรมทางสังคม กิจกรรมทางหมู่บ้าน แม่บ้านทุ่งแพมก็ร่วมมีการแสดงทั้งนั้น เช่น ฟ้อน ขับร้อง เป็นต้น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : นางดวงรัตน์ จันตา
รายละเอียด : ทุกครั้งที่มีงานในหมู่บ้าน ทุกครั้งที่มีดนตรีจะขาดคนนี้ไม่ได้เลย ต้องร้องเพลงทุกครั้ง และก็ร้องดีด้วย