วัดห้วยทราย ตั้งอยู่บ้านห้วย ม.5 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินวัดมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2480
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2480
๑) ตั้งธรรมหลวง (เทศนามหาชาติ)
วันที่เริ่ม ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ เวลาเริ่ม 14.30 น.
วันที่สิ้นสุด ขึ้น 15 ค่ำ เดือน ยี่เป็ง เวลาสิ้นสุด 24.00 น.
เวลา 14.30 น. ตั้งขบวนแห่พระธรรมมหาชาดก
เวลา 15.30 น. เคลื่อนขบวนแห่พระธรรมเข้าวัด
เวลา 16.30 น. เทศนามหาชาติ 1,000 คาถา และมาลัยต้น-มาลัยปลาย
วันขึ้น 15 ค่ำ (เดือนยี่เป็ง เวลา 05.30 น. – 24.00 น. เทศนามาหชาติ 13 กันต์)
๒) การแข่งขันดอกไม้เพลิง
วันที่เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ เวลาเริ่ม 19.00 น.
วันที่สิ้นสุด แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ เวลาสิ้นสุด 23.00
เวลา 19.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 20.00 น. เริ่มจุดดอกไม้เพลิง
ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
วัดห้วยทรายเป็นวัดที่มีการก่อตั้งมาประมาณ 100 ปี กิจกกรมที่ทางวัดจัดเป็นประจำคือ กิจกรรมสืบชะตา ต่ออายุสำหรับนักท่องเที่ยวหรือประชาชนทุกคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนหรือศาสนาอื่นๆ หากเลื่อมใสก็มาสารถหากิจกรรมสืบชะตาต่ออายุได้ กิจกรรมเทียนบูชาเสริมดวงชะตาให้กับทุกคนได้
ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม
ปราชญ์ชาวบ้าน : นายปิง นามเรือง
รายละเอียด : เป็นผู้ที่ทำพิธีกรรมต่างๆ เช่น เรียกขวัญ สะเดาะเคราะห์ จัดตั้งศาลพระภูมิ
วิถีชีวิต
ชาติพันธุ์ : เผ่าละว้า ปัจจุบันชนพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าละว้า หรือลั๊วะ มีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ชนพื้นเมือง 40 % คนชุมชนส่วนใหญ่ร้อยละ 99 ใช้ภาษาคนเมืองหรือล้านนา
ภาษา : ภาษาล้านนา เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน แต่ภาษาเขียนใช้ภาษาไทย
ประเพณี/พิธีกรรม : งานศพ
รายละเอียด : จะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดอภิธรรมเหมือนกันแต่จะแตกต่างตรงที่การจัดการ เช่นคนที่ตายที่หลังจะต้องทำพิธีกรรมฌาปนกิจก่อน และจะไม่ทำในวันพุธ และวันขึ้น 9 ค่ำ และแรม 9 ค่ำ
ประเพณี/พิธีกรรม : เลี้ยงเจ้านาย (เจ้าพ่อหลักเมือง)
รายละเอียด : คนในชุมชนจะต้องรวบรวมปัจจัยกันเพื่อจัดซื้อเครื่องบูชาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง นำยมทำกันในเดือน 9 เหนือ
ประเพณี/พิธีกรรม : สะเดาะเคราะห์หมู่บ้าน
รายละเอียด : นิยมทำกันทั้งหมู่บ้าน จะมีมัคทายกและพระสงฆ์มาทำพิธี เพื่อขับไล่เสนียดจัญไรออกจากหมู่บ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : นายทัพ โลกา มีความถนัดด้านช่างก่อสร้าง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : นางพร ธรรมวงค์ มีความรู้ด้านการจัดทำยาจากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อรักษาโรคผิดเดือน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : นายสกล ทองคำจันทร์ ถนัดดนตรีพื้นเมือง เช่น ซึง สะล้อ