พ่อต้าว กัญฑา เป็นชาวแม่สะเรียงย้ายมาอยู่บ้านห้วยวอกกับพระตุหลวงใจได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดเป็นสำนักสงฆ์ ใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์และสำหรับประกอบศาสนกิจทำบุญทางศาสนา ใช้ใบตองตึงมาเป็นหลังคาข้างฝาและพื้นไม้ใช้ไม้ไผ่ทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ.2480 คณะศรัทธาได้บูรณวัดขึ้นมาใหม่โดยให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยใช้ไม้เนื้อแข็งมาสร้างสำนักสงฆ์ได้มีการสร้างศาลา 1 หลัง และสร้างกุฏิ 3 หลัง จนมาถึงปี พ.ศ.2548 มีพ่อหลวงอานัด จันทรา ได้ประชุมประจำเดือน คณะศรัทธามีนายอินก๋วน บุญลือ ได้เสนอให้สร้างวิหารขึ้น ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่จะมาดำเนินการก่อสร้าง ได้มีการวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 24 มีนาคม 2549 และเริ่มทำการสร้างวิหาร โดยใช้ระยะเวลาในการสร้างทั้งหมด 8 ปี ตั้งแต่ 24 มีนาคม 2549 ถึง 22 มีนาคม 2556 ใช้งบประมาณในการจัดสร้าง 4,000,000 บาท จึงได้วิหารเสร็จเรียบร้อยสวยงาม สำหรับเป็นที่ประกอบศาสนกิจทางศาสนา
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2470
๑) วันวิสาขบูชา
ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม
๒) วันอาสาฬหบูชา
ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม เวียนเทียน
๓) วันมาฆบูชา
ทำบุญตักบาตร เวียนเทียยน
ข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เป็นวัดที่เก่าแก่ ชาวบ้านมีความสามัคคีร่วมกันก่อสร้าง ทุกคนมีส่วนร่วมในการก่อสร้างมาโดยตลอด
ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม
ปราชญ์ชาวบ้าน : นายสม เสมอดี
ที่อยู่ : 109 หมู่ 2 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : มีความรู้ด้านพิธีกรรม มีตำแหน่งเป็นมัคทายก เป็นผู้นำทางด้านศาสนพิธีและกิจกรรมทางด้านศาสนาของหมู่บ้าน รวมไปถึงงานบุญต่างๆ งานศพ และพิธีเรียกขวัญ
ปราชญ์ชาวบ้าน : นายสูน ปวงทา
ที่อยู่ : 75 หมู่ 2 ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียด : มีความรู้ด้านการประกอบอาชีพ เรื่องการตีมีด ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดา และถ่ายทอดต่อประชาชน
วิถีชีวิต
ชาติพันธุ์ : คนไทยพื้นเมือง กะเหรี่ยง เงี้ยว
ภาษา : ภาษาพื้นเมือง การสื่อสารจะใช้ภาษาพื้นเมือง
ประเพณี/พิธีกรรม : ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
รายละเอียด : ทุกวันที่ 13-16 เมษายน ของทุกปี จะมีประเพณีทำบุญมีกิจกรรมขนทรายเข้าวัด ทำบุญตักบาตร ดำหัวผู้สูงอายุ
ประเพณี/พิธีกรรม : ตานข้าวใหม่
รายละเอียด : จะจัดขึ้นในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ประมาณเดือนมกราคมของทุกปี เนื่องจากชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวข้าวแล้วก็จะนำเอาข้าวที่เก็บเกี่ยวเสร็จมาทำบุญ โดยนำข้าวเปลือก ข้าวสารมาทำบุญถวายพระก่อน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : กลุ่มทอผ้าของแม่บ้านคะปวง มีการส่งเสริมการทอผ้าและการฝึกอาชีพทอผ้าให้กลุ่มแม่บ้านคะปวง โดยได้รับการสนับสนุนโดยเทศบาลตำบลแม่ยวมและพัฒนาชุมชนของอำเภอแม่สะเรียง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : พ่อหนานสม เสมอดี
รายละเอียด : 1. รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีตามรอยของชุมชนชาวบ้าน
2. เป็นหมอร้องขวัญให้กับชาวบ้าน
3. เป็นผู้จัดพิธีเผาศพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ภูมิปัญญาชาวบ้าน : ข้าวซ้อมมือ
รายละเอียด : ชาวบ้านเป็นคนพื้นเมืองและอยู่ในชนบท แต่ก่อนไม่มีโรงสีข้าว ชาวบ้านต้องซ้อมข้าวเอง ซึ่งต่อมาได้มีโรงสีมาตั้งขึ้นการซ้อมข้าวหรือการทำข้าวก็ไม่มี ต่อมามีกลุ่มข้าวซ้อมมือเนื่องจากได้สังเกตว่าคนเฒ่าคนแก่กินข้าวซ้อมมือแล้วมีอายุยืน จึงได้ร่วมกันผลิตข้าวซ้อมมือไว้กินเองและจำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจ