ข้อมูลทั่วไปของวัดวัดคอนผึ้ง
- ชื่อวัด: วัดคอนผึ้ง
- ประเภทวัด: วัดราษฎร์/พัทธสีมา
- นิกาย: มหานิกาย
- พระภิกษุ: 4 รูป
- สามเณร: 1 รูป
- ลูกศิษย์วัด: 11 คน
- ที่ตั้ง: เลขที่ 366 หมู่ 5 คอนผึ้ง ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน รหัสไปษณีย์ 58110
- เนื้อที่: 11 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา
ประวัติความเป็นมา
วัดคอนผึ้ง ตั้งอยู่บ้านคอนผึ้ง ถนนสายแม่สะเรียง-ตาก เลขที่ 366 หมู่ 5 ต.แม่ตะควน อ.สบเมย
จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 11 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 3 เส้น ทิศใต้ประมาณ 3 เส้น จดหมู่บ้าน ทิศตะวันออกประมาณ 3 เส้น 10 วา จดถนนสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ เจดีย์
วัดคอนผึ้ง สร้างเมื่อ พ.ศ.2483 เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณะสร้างขึ้น และได้นิมนต์พระวรรณา จากวัดผาผ่ามาจำพรรษา การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสที่ทราบคือ รูปที่ 1 พระวรรณา พ.ศ.2519-2526 รูปที่ 2 พระบุญปั๋น ตั้งแต่ พ.ศ.2526 เป็นต้นมา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศที่ พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ เมื่อวันที่ 25 พ.ศ.2542
สถานะภาพของวัดในปัจจุบัน
• ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2483
• ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551
สถานที่ที่น่าสนใจภายในวัดวัดคอนผึ้ง
๑) วันสรงกรานต์
วันที่เริ่ม 14 เมษายน
วันที่สิ้นสุด 17 เมษายน
๒) สรงน้ำพระธาตุศรีเทพภมร
วันที่เริ่ม ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6
วันที่สิ้นสุด ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6
ข้อมูลเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556
พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ ปคุโน เจ้าอาวาสวัดคอนผึ้ง
พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ ปคุโน
ปัจจุบันอายุ 57 ปี
บวชมาแล้ว 30 พรรษา
มีลำดับชั้นสมณศักดิ์เป็น เจ้าอาวาสชั้นเอก
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดคอนผึ้ง และยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบล (จต.)
ประวัติด้านการศึกษาของพระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ ปคุโน
พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ ปคุโน เจ้าอาวาสวัดคอนผึ้ง
จบการศึกษาศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (ป.4) จากสถานบันการศึกษาโรงเรียนชุมชนบ้านผาผ่า เมื่อปีการศึกษา พ.ศ.
อดีตเจ้าอาวาสวัดคอนผึ้ง
พระครูอนุสรณ์ศีลขันธ์ |
ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ถึงปัจจุบัน |
พระพระวรรณา |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
พระบุญปั๋น |
ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่นอน |
ชาวพื้นเมืองและเผ่ากะเหรี่ยง (วิถีชีวิต) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดคอนผึ้ง
เดิมบ้านคอนผึ้ง มีพ่อเฒ่าน้อยยอด จันทรคราส เป็นผุ้ริเริ่มปัจจุบันมีหลังคาเรือน ๓๘๕ หลัง ประชากร ๑๕๐๐ ก่าวคน แต่กอนประชากรเป็นเผ่าพื้นเมืองล้วน หลังจากนั้นเผ่ากะเหรี่ยงจากบนดอยเริ่มอพยบมารับจ้างในหมู่่บ้านและได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามเชิงดอยและนำญาติมาด้วยปัจจุบันมี ๔๐ หลังคาเรือน
ภาษาพื้นเมือง และภาษากะเรี่ยง (ภาษา) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดคอนผึ้ง
หลังจาก พ.ศ. ๒๕๔๐ ชาวเขาเข้าามาอยู่เพิ่มมากขึ้น ชาวเขาจะใช้ภาษากะเรี่ยงพูดกัน การแต่งกายยังรักษาประเพณีเดิมอยู่แต่รุ่นหลังจะแต่งเหมือนคนผื้นเ่มืองทั่ ๆไป
ประเพณี พิธีกรรม (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดคอนผึ้ง
ประเพณีเทศน์มหาชาติตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี จะมีเจ้าภาพทั้งหมด จะเริ่มเทศน์ตั้งแต่ ๐๕.๐๐ น.เป็นต้นไปขณะเริ่มเทศน์เจ้าภาพจะจุดเทียนไขจำนวนตามคาถาที่แจ้งในกัณฑ์เทศน์ บางกัณฑ์อาจจะมีหลาย ๆ คนร่วมกันเป็นเจ้าภาพกก็มี หมุนเวียนกันไปเรื่อย ๆ ก็มี
ปราชญ์ชาวบ้าน (ปราชญ์ชาวบ้าน) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดคอนผึ้ง
ปราชญ์ชาวบ้าน คือนาายสถาพร ทองประดิษฐ์ อยู่ที่ ๑๖ หมู่ที่ ๕ บ้านคอนผึ้ง ต.แม่คะตวน อ. สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน โทร ๐๘๖๑๘๒๖๑๓๙
๑. เป็นประธานก่อตั้งสำนักสงฆ์บ้านคอนผึ้ง เมื่อปี ๒๕๒๐
๒. เป็นประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอสบเมย ตั้งแต่ ๒๕๔๖-ปัจจุบัน
๓. สืบค้นข้อมูล เผยแพร่ให้ห้องสมุดโรงเรียน เจ้าอาวาสวัด อาทิเช่น ประวัติของวัดในเขตอำเภอสบเมย ประเพณีวัฒนธรรมในอดีต-ปัจจุบัน ความเชื่อ
อาหารพื้นบ้าน ประวัติหมู่บ้าน กระดูกสันหลังของชาติในอดีด ภาษาถิ่น ศาสนาและศาสนพิธีในท้องถิ่น-กีฬาพื้นบ้าน
๔. เป้นประธานจัดงานส่งเสริมประเพณีเป็นประจำทุกปี นั้งฟแต่ปี ๒๕๔๖-ปัจจุบัน เช่นประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันรำลึกครูบาผาผ่า ประเพณีดำหัวและ
หหประเพณีแห่เทียนพรรษา โดยจัดระดับอำเภอ
พิธีกรรมส่งเคราะห์บ้าน (ประเพณี / พีธีกรรม) - ข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมวัดคอนผึ้ง
พิธีนี้ตามความเชื่อของชาวบ้านจัดพิธีขึ้นทุกปี ตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายนของทุกปี ชาวบ้านจะนำทราย น้ำสมป่อยที่ทำพิธีเสร็จแล้วจะนำไปที่บ้านเพื่อเป้นการสะเดาะเคราะห์ พิธีนั้นเขาจะทำกระทงกาบกล้วยก้าวยาว ๑ เมตร ใช้ดินปั้นเป้นรูปสัตว์ต่าง ๆ ๑๐๐ ตัว ในกระทงมีผลไม้ หมาก พลู พริก เกลือ ฯลฯ นำมาวางไว้หน้าพระสงฆ์พระสงฆ์จะเทศน์สะเดาะเคราะห์ ๑-๒ กัณฑ์ เจริญพระพุทธมนต์หลังจากพระทำพิธีแล้ว จะมีมัคนายก อ่นตำราสะเดาะเคราะห์ให้ชาวบ้านหันหน้าไปทางกระทง ขณะอ่านตำราจะสาดน้ำส้มป่อยไปทางชาวบ้านเป็นระยะ ๆ พิธีเสร็จจะล้าางหน้าด้วยส้มป่อยลงในกระทงครบทุกคน เขาจะนำกระทงนั้นไปไว้นอกเข่ตหมู่บ้านทั้ง ๔ทิศ เพื่อให้ทุกคนพ้นเคราะห์พ้นภัยในปีหน้านั้น
การจัดการศึกษาภายในวัดคอนผึ้ง
การจัดการศึกษาภายในวัดคอนผึ้งนั้น จะประกอบไปด้วย
- ศูนย์อบรมประชาชนประจำตำบล