หัวข้อ "ศาสนากับสังคมไทย"
เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 14:18:01, ผู้เข้าชม 36722 ท่าน
ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญของสังคมไทย
สังคมไทยมีความผูกพันกับสถาบันศาสนาในลักษณะที่เป็นพิเศษแตกต่างกับชาติอื่น
ในโลกแม้แต่ชาติตะวันตก นับเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพิเศษ นั่นคือ
คนไทยมีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อศาสนาทุกศาสนาจนกลายเป็นบุคลิกภาพของสังคมไทยที่
เปิดโอกาสให้บุคคลนับถือศาสนาต่างๆ ได้โดยอิสระ
และยอมให้ศาสนาทั้งปวงดำรงคงอยู่ในสังคมไทยโดยไม่ขัดขวาง ความมหัศจรรย์
ในเรื่องนี้ อยู่ที่ตรงว่า
ทัศนคติดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแต่สมัยโบราณและต่อมาจนถึงปัจจุบัน
นับเป็นความคิดและการกระทำที่ก้าวหน้าล้ำสมัยเกินกว่านานาประเทศในโลก
แม้อารยประเทศ
สังคมไทยไม่เพียงแต่ไม่ขัดขวาง แต่ยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ศาสนาอื่นที่แม้จะไม่ใช่ศาสนาที่ตนไม่ยอมรับ ดูได้จากพระราชจริยวัตรของประมุขของชาติไทยแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากพฤติกรรมของคนไทยนับตั้งแต่ประเทศจนถึงทศวรรษนี้ ประเทศไทยไม่เคยมีความขัดแย้งในเรื่องศาสนาจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ แม้ว่าในบางโอกาสจะมีชนบางกลุ่มพยายามทำให้เกิดความขัดแย้งในทางศาสนาหรือ ชักนำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ แต่ก็ไม่สามารถจะลบล้างความจริงในสังคมไทยไปได้ นั่นคือ การชักจูงหรือการยั่วยุเช่นนั้นไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ ได้
พวงผกา คุโรวาท (2539, น. 201) ได้อธิบายเกี่ยวกับ สถาบันศาสนากับสังคมไทยมีความสัมพันธ์ในสาระสำคัญ ดังนี้
1) สังคมไทยยอมรับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาสำคัญประจำชาติ
2) แต่ในขณะเดียวกันยอมให้ศาสนาสำคัญต่างๆ ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย เช่น ศาสนาฮินดู คริสต์ อิสลาม เป็นต้น
3) ศาสนาพุทธเป็นบ่อเกิดสำคัญประการหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎเกณฑ์ กฎหมาย ค่านิยม วิถีชีวิตของชาวไทย
4) ศาสนาพุทธเป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยให้จุดรวมจิตใจของคนไทยอย่างแน่น แฟ้นเป็นเสมือนพลังผูกพันคนในชาติเข้าด้วยกันให้ดำรงชีวิตร่วมกัน โดยมีความขัดแย้งน้อยที่สุด
5) ศาสนาพุทธได้กลายเป็นกลไกที่ช่วยขจัดปัดเป่าความขัดแย้งและสร้างความสงบในสังคม
6) สังคมไทยมีความสามารถในการที่จะนำเอาศาสนาพุทธเป็นพื้นฐานของชีวิต และหล่อเลี้ยงทำนุบำรุงศาสนาให้มั่นคงอยู่ได้จนกลายเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธ ของโลกปัจจุบัน แม้ศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาต่างด้าวที่เกิดในประเทศอินเดีย ศูนย์กลางในที่นี้หมายถึง ปริมาณของผู้ที่ยึดถือศาสนาพุทธ เมือเปรียบเทียบกับประชากรของประเทศ อิทธิพลของศาสนาต่อชีวิตต่อประชากร การรักษาธรรมและวินัย รวมทั้งสาระสำคัญที่เป็นหลักการแห่งศาสนา การนำเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติและการเสริมสร้างสถาบันสงฆ์ให้ถึงพร้อมทั้งใน ด้านองค์การและการปฏิบัติสืบต่อพระศาสนา การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของสถาบันศาสนาพุทธเข้ากับชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชาวบ้านหรือสงฆ์กับคนไทย
7) นอกจากจะนำหลักศาสนาพุทธมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สังคมไทยยังนำสิ่งที่มีคุณค่าของศาสนาอื่นมาใช้ผสมผสานกับหลักศาสนาพุทธ อย่างไม่ขัดเขิน อาทิ พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ (ขึ้นบ้านใหม่ ศาลพระภูมิ) หรือลัทธิขงจื้อ (การยกย่องบูชาบรรพบุรุษ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ)
8) สังคมไทยมีบุคลิกภาพอันเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ สมาชิกของสังคมพร้อมที่จะเข้าร่วมในกิจการของศาสนาอื่นโดยไม่ถือว่าเป็นการ เสื่อมเสียหรือเป็นบาป หรือเป็นปมด้อยแต่อย่างใด
9) สังคมไทยไม่ถือว่า สมาชิกในสังคมไทยต้องขาดคุณสมบัติหรือสิทธิพึงมีพึงได้ หากนับถือศาสนาอื่น เช่น การรับราชการ หรือการมีส่วนทางการเมือง
10) สถาบันครอบครัวของสังคมไทย ยอมรับการแต่งงานต่างศาสนาได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งพิเศษเพราะสถาบันครอบครัวนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของสถาบัน สังคมและเป็นความผูกพันอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคคลและไม่ถือว่าหากยึดถือศาสนา อื่นใดนอกเหนือศาสนาพุทธ
11) สถาบันกฎหมายของประเทศให้ความสำคัญกับศาสนาทั้งปวง และยอมรับที่จะให้การคุ้มครองป้องกันศาสนาและลัทธิความเชื่อทั้งหลายที่ไม่ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
12) สังคมไทยได้แสดงออกถึงความผูกพันต่อศาสนาทั้งปวงเป็นพิเศษบางประการ เช่น
(1) การอยู่รวมกันโดยสันติระหว่างสถาบันศาสนาและผู้มีที่ความเชื่อในศาสนา
(2) ให้ประมุขของประเทศมีส่วนสนับสนุนศาสนาต่างๆ ทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัย
(3) ยอมให้มีการปฏิบัติพิธีกรรมโดยเสรี
(4) ยอมให้มีการบริหารแต่ละศาสนาอย่างเป็นอิสระตามความเหมาะสม
(5) มีความยืดหยุ่นและประสานประโยชน์ให้ด้านการปกครอง หากเห็นว่าบางท้องถิ่นมีผู้นับถือศาสนาใดมากเป็นพิเศษ เช่น นโยบายสนับสนุนวิธีชีวิตของไทยมุสลิมภาคใต้ด้วยการยกเว้นบทบัญญัติกฎหมายบาง ประการ
เอกสารอ้างอิง : พวงผกา คุโรวาท. (2539). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น(1977) จำกัด.
สังคมไทยไม่เพียงแต่ไม่ขัดขวาง แต่ยังเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ศาสนาอื่นที่แม้จะไม่ใช่ศาสนาที่ตนไม่ยอมรับ ดูได้จากพระราชจริยวัตรของประมุขของชาติไทยแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ดูได้จากพฤติกรรมของคนไทยนับตั้งแต่ประเทศจนถึงทศวรรษนี้ ประเทศไทยไม่เคยมีความขัดแย้งในเรื่องศาสนาจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ แม้ว่าในบางโอกาสจะมีชนบางกลุ่มพยายามทำให้เกิดความขัดแย้งในทางศาสนาหรือ ชักนำให้เกิดความรู้สึกเช่นนี้ แต่ก็ไม่สามารถจะลบล้างความจริงในสังคมไทยไปได้ นั่นคือ การชักจูงหรือการยั่วยุเช่นนั้นไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ ได้
พวงผกา คุโรวาท (2539, น. 201) ได้อธิบายเกี่ยวกับ สถาบันศาสนากับสังคมไทยมีความสัมพันธ์ในสาระสำคัญ ดังนี้
1) สังคมไทยยอมรับศาสนาพุทธ เป็นศาสนาสำคัญประจำชาติ
2) แต่ในขณะเดียวกันยอมให้ศาสนาสำคัญต่างๆ ได้ตั้งอยู่ในประเทศไทย เช่น ศาสนาฮินดู คริสต์ อิสลาม เป็นต้น
3) ศาสนาพุทธเป็นบ่อเกิดสำคัญประการหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณี กฎเกณฑ์ กฎหมาย ค่านิยม วิถีชีวิตของชาวไทย
4) ศาสนาพุทธเป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยให้จุดรวมจิตใจของคนไทยอย่างแน่น แฟ้นเป็นเสมือนพลังผูกพันคนในชาติเข้าด้วยกันให้ดำรงชีวิตร่วมกัน โดยมีความขัดแย้งน้อยที่สุด
5) ศาสนาพุทธได้กลายเป็นกลไกที่ช่วยขจัดปัดเป่าความขัดแย้งและสร้างความสงบในสังคม
6) สังคมไทยมีความสามารถในการที่จะนำเอาศาสนาพุทธเป็นพื้นฐานของชีวิต และหล่อเลี้ยงทำนุบำรุงศาสนาให้มั่นคงอยู่ได้จนกลายเป็นศูนย์กลางศาสนาพุทธ ของโลกปัจจุบัน แม้ศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาต่างด้าวที่เกิดในประเทศอินเดีย ศูนย์กลางในที่นี้หมายถึง ปริมาณของผู้ที่ยึดถือศาสนาพุทธ เมือเปรียบเทียบกับประชากรของประเทศ อิทธิพลของศาสนาต่อชีวิตต่อประชากร การรักษาธรรมและวินัย รวมทั้งสาระสำคัญที่เป็นหลักการแห่งศาสนา การนำเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติและการเสริมสร้างสถาบันสงฆ์ให้ถึงพร้อมทั้งใน ด้านองค์การและการปฏิบัติสืบต่อพระศาสนา การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของสถาบันศาสนาพุทธเข้ากับชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชาวบ้านหรือสงฆ์กับคนไทย
7) นอกจากจะนำหลักศาสนาพุทธมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สังคมไทยยังนำสิ่งที่มีคุณค่าของศาสนาอื่นมาใช้ผสมผสานกับหลักศาสนาพุทธ อย่างไม่ขัดเขิน อาทิ พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ (ขึ้นบ้านใหม่ ศาลพระภูมิ) หรือลัทธิขงจื้อ (การยกย่องบูชาบรรพบุรุษ การแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ)
8) สังคมไทยมีบุคลิกภาพอันเป็นเอกลักษณ์อีกประการหนึ่ง นั่นก็คือ สมาชิกของสังคมพร้อมที่จะเข้าร่วมในกิจการของศาสนาอื่นโดยไม่ถือว่าเป็นการ เสื่อมเสียหรือเป็นบาป หรือเป็นปมด้อยแต่อย่างใด
9) สังคมไทยไม่ถือว่า สมาชิกในสังคมไทยต้องขาดคุณสมบัติหรือสิทธิพึงมีพึงได้ หากนับถือศาสนาอื่น เช่น การรับราชการ หรือการมีส่วนทางการเมือง
10) สถาบันครอบครัวของสังคมไทย ยอมรับการแต่งงานต่างศาสนาได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นสิ่งพิเศษเพราะสถาบันครอบครัวนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของสถาบัน สังคมและเป็นความผูกพันอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคคลและไม่ถือว่าหากยึดถือศาสนา อื่นใดนอกเหนือศาสนาพุทธ
11) สถาบันกฎหมายของประเทศให้ความสำคัญกับศาสนาทั้งปวง และยอมรับที่จะให้การคุ้มครองป้องกันศาสนาและลัทธิความเชื่อทั้งหลายที่ไม่ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
12) สังคมไทยได้แสดงออกถึงความผูกพันต่อศาสนาทั้งปวงเป็นพิเศษบางประการ เช่น
(1) การอยู่รวมกันโดยสันติระหว่างสถาบันศาสนาและผู้มีที่ความเชื่อในศาสนา
(2) ให้ประมุขของประเทศมีส่วนสนับสนุนศาสนาต่างๆ ทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัย
(3) ยอมให้มีการปฏิบัติพิธีกรรมโดยเสรี
(4) ยอมให้มีการบริหารแต่ละศาสนาอย่างเป็นอิสระตามความเหมาะสม
(5) มีความยืดหยุ่นและประสานประโยชน์ให้ด้านการปกครอง หากเห็นว่าบางท้องถิ่นมีผู้นับถือศาสนาใดมากเป็นพิเศษ เช่น นโยบายสนับสนุนวิธีชีวิตของไทยมุสลิมภาคใต้ด้วยการยกเว้นบทบัญญัติกฎหมายบาง ประการ
เอกสารอ้างอิง : พวงผกา คุโรวาท. (2539). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น(1977) จำกัด.