เลือกวัดตามจังหวัด

ระบบสืบค้นขั้นสูง

ระบบค้นและสืบหา

ปฏิทินกิจกรรม

« กุมภาพันธ์ 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
31
30
29
28
27
26
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
1

แนะนำวัดที่น่าดู

วัดที่มีการปรับปรุงข้อมูลล่าสุด

สารบัญเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และผู้สนับสนุน

หัวข้อ "ศาสนาพุทธ"
เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 14:15:01, ผู้เข้าชม 2384 ท่าน

     พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนาหรือเทศน์ ครั้งแรก เมื่อก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ ชมพูทวีป ซึ่งปัจจุบันคือ อินเดีย เนปาล และปากีสถาน  โดยพระองค์ท่านประสูติก่อนพระพุทธศาสนา 80 ปี  และท่านมีพระนามว่า “พระโคดมพุทธเจ้า” หรือสิทธัตถโคตมะ การที่ท่านคิดหลักธรรมขึ้นมาก็เพื่อเป็นการปฏิรูปแนวคิด ความเชื่อ ของชาวชมพูทวีป ในสมัยนั้นให้ดียิ่งขึ้น หลักธรรมที่ทรงแสดงถึงนั้นปรากฏว่าเป็นสัจธรรมและเป็นสากล สามารถนำไปใช้บุคคลทุกวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกยุค และทุกประเทศ ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่มีธรรมเป็นเครื่องครองชีพและครองโลก เป็นศาสตร์ที่รวมแห่งศาสตร์ทั้งหลาย ไม่ว่าเป็นศาสตร์แขนงใด เริ่มตั้งแต่เคหศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับผู้ครองเรือน สรีรศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับครองกาย จิตศาสตร์อันเป็นศาสตร์สำหรับครองจิตใจ วิทยาศาสตร์ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุดสำหรับผู้ต้องการเอาชนะธรรมชาติก็รวมอยู่ ในพุทธศาสนาทั้งสิ้น

พวงผกา  คุโรวาท (2539, น. 201) ได้อธิบายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา ดังนี้
     ประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีแคว้นของชนเผ่าอริกะหรืออารยันแคว้นหนึ่งในตอนเหนือของประเทศอินเดีย แถบกลุ่มแม่น้ำคงคา  ส่วนทางภาคตะวันออกเป็นแคว้นสักกะ ราชธานีชื่อกบิลพัสดุ์ (อยู่ระหว่างเมืองอาลาหะบัดกับเมืองปัตนะในปัจจุบัน) พระราชาผู้ครองแคว้นทางพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ และพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางมหามายา ประมาณ 584 ก่อนคริสต์ศักราช หรือ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ในวันเพ็ญ เดือนหก  พระนางมหามายาได้ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าเจ้าชายสิทธธัตถะ ราชสกุลของพระองค์คือศากยะ ส่วนโคตมะเป็นชื่อของราชวงค์ พระกุมารนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสมณโคดมพุทธเจ้า (พระองค์ท่านสำเร็จการศึกษาจากสำนักอาจารย์วิศวามิตร) ผู้เป็นศาสนาของพุทธศาสนา ซึ่งในกาลต่อมาได้กลายเป็นที่นับถือของประชาชนถึงหนึ่งในสามของโลก

     เมื่อพระเจ้าสิทธัตถะทรงพระเจริยวัยขึ้น ก็สนพระทัยครุ่นคิดแต่ปัญหาชีวิตของคนทุกคน ต่อมาเองทรงเสกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพา แล้วประสูติพระโอรสชื่อราหุล  เจ้าชายสิทธัตถะก็ยิ่งทรงเห็นโลกมีแต่ความทุกข์ อันเป็นห่วงผูกคอคล้องมนุษย์ให้เกี่ยวข้องอยู่แต่ในโลกีวิสัย ทำให้เกิดรัก โกรธ โลภหลง จนมนุษย์ขาดการพิจารณาเหตุผล บางครั้งถึงกับขาดเมตตาจิตต่อกัน จึงทรงหาทางดับทุกข์ เสด็จหนีจากราชสมบัติออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุได้ 29 พรรษา และเสด็จท่องเที่ยวไปตามแคว้นใกล้เคียงศึกษาธรรมเพื่อแก้ทุกข์ตามสำนักลัทธิ มีมากมายในขณะนั้น และส่วนใหญ่ก็เป็นลัทธิต่างๆ ที่สืบเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ ทรงอดทนทรมานพระวรกายอยู่ตามสำนักอาจารย์และป่าดงเป็นเวลา 6 ปี จนพระชนมายุได้ 35 จึงทรงพบทางแก้ทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และทรงตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ตำบลอุรุเวฬาเสนานิคม (หรือพุทธคยาในปัจจุบัน) อันอยู่ในแคว้นมคธ ห่างจากกรุงราชคฤห์ประมาณ 300 ไมล์

     เมื่อตรัสรู้แล้วก็เสด็จเผยแพร่พระธรรมยังแคว้นมคธและแคว้นใกล้เคียง แล้วเสด็จสู่แคว้นสักกะโปรดพระพุทธบิดา มารดา พระมเหสี และศากยราชสกุล ประชาชนทุกชั้นวรรณะ ซึ่งก็มีผู้เลื่อมใสเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจตุบริษัทมีทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  และทรงประกาศศาสนาร่วมกับพระสาวกอยู่ได้ 45 ปี ก็เสด็จปรินิพพานเมื่อพระชนมายได้ 80 พรรษา ณ เมืองกุสินารา 

เอกสารอ้างอิง : พวงผกา  คุโรวาท. (2539). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น(1977) จำกัด.