เลือกวัดตามจังหวัด

ระบบสืบค้นขั้นสูง

ระบบค้นและสืบหา

ปฏิทินกิจกรรม

« มกราคม 2568 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
31
30
29
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
1

แนะนำวัดที่น่าดู

วัดที่มีการปรับปรุงข้อมูลล่าสุด

สารบัญเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และผู้สนับสนุน

หัวข้อ "แนวคิดเกี่ยวศาสนา"
เมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2554 เวลา 14:09:24, ผู้เข้าชม 15098 ท่าน

     ศาสนาเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว โดยในระยะแรกเกิดจากความกลัวสิ่งต่างๆ ที่ล้อมรอบตัว เป็นการเกรงกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว พระอาทิตย์ พระจันทร์ มนุษย์จึงต้องพยายามกราบไหว้บูชา เพื่อขอความเมตตาคุ้มครองป้องกันให้ปลอดภัยและบันดาลให้มนุษย์ได้สิ่งที่ หวังไว้  มนุษย์จึงพากันเคารพด้วยความเกรงกลัว ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับชีวิตตนและส่วนรวม
     ศาสนาได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนถึงระยะหนึ่งที่มนุษย์เริ่มได้คิดว่า น่าจะมีสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอิทธิพลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำให้มนุษย์ รอดพ้นจากความทุกข์ได้ จึงมีผู้มีปัญญาคิดหาหนทางหรือแนวทางอันได้แก่ การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนา เพื่อให้ชีวิตรอดพ้นจากความทุกข์และพบกับความสุขได้ในลักษณะดังนี้ก็คือ การเกิดศาสดาของศาสนาต่างๆ ขึ้น ศาสดาเหล่านี้ได้สอนให้มนุษย์ยึดถือพระธรรมเป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้รอดพ้น จากความทุกข์และพบกับความสุขที่ปรารถนา โดยศาสดาเหล่านี้อาจจะเป็นผู้คิดค้นหลักคำสอนขึ้นเอง


ความหมายของศาสนา
ทิตฐิตา  นาคเกษม (2550, น. 37) ได้อธิบาย ความหมายของศาสนา และองค์ประกอบของศาสนา ไว้ดังนี้

     ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนซึ่งแต่ละศาสนาอาจจะมีคำสั่งสอนเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันหรือแตก ต่างกันทั้งในด้านรูปลักษณะ (Form) และหน้าที่ทางสังคม (Function) โดยมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ สอนคนให้เป็นคนดี ให้คนเข้ากับสังคมหรือยอมให้สังคม ให้คนมีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้มีความสามัคคี ให้มีบรรทัดฐานในการปฏิบัติตลอดจนเป็นที่รวมแห่งความเชื่อและความเคารพ นับถืออันสูงสุดของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน


องค์ประกอบของศาสนา  มีดังต่อไปนี้
1)  มีศาสดาผู้ก่อตั้ง โดยที่ศาสดาอาจจะมีลักษณะที่เป็นผู้ที่ค้นพบสัจธรรมและแนวทางปฏิบัติให้ บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์และนำมาสอนแก่มนุษยชาติ
2)  มีคัมภีร์ซึ่งรวบรวมบรรดาหลักคำสอนทั้งที่เป็นของศาสดาโดยตรง หรือคำสอนที่ศาสดารับโองการมาจากพระผู้เป็นเจ้ามาสอนต่ออีกทอดหนึ่ง  ซึ่งศาสนิกชนจะให้ความเคารพเชื่อถือและปฏิบัติตาม
3)  มีหลักคำสอนอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต แต่ละศาสดาอาจมีเป้าหมายสูงสุดที่อาจจะคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ศาสนาพุทธมีเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน คือ ภาวะการดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
4)  มีสาวก นักบวชเป็นผู้สืบต่อคำสอนให้ดำรงอยู่ต่อไป หรือมีคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติอยู่ในระเบียบแบบแผนของศาสนา
5)  มีพิธีกรรมทางศาสนา  ทุกศาสนาล้วนแต่มีพิธีกรรมทางศาสนาที่ศาสนิกชนจะปฏิบัติโดยที่แต่ละพิธีกรรม ล้วนมีจุดมุ่งหมายต่างกันออกไป
6)  มีศาสนสถานเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม โดยมีชื่อเรียกทั้งที่เหมือนกันและที่แตกต่างกัน เช่น โบสถ์ ศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาคริสต์  ส่วนศาสนาอิสลาม เรียกว่า มัสยิด หรือสุเหร่า

เอกสารอ้างอิง  : ทิตฐิตา  นาคเกษม. (2550). ไทยศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.